วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโดยใช้ทักษะบูรณาการภาษาอังกฤษกับวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

The development of teacher training curriculum by using integrated English skills with mathematics in lower secondary school level


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนและความต้องการฝึกอบรมโดยใช้ทักษะบูรณาการภาษาอังกฤษกับวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโดยใช้ทักษะบูรณาการภาษาอังกฤษกับวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น วิธีดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม และขั้นตอนที่ 4 การประเมินและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) เป็นครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนในสังกัด สพม.24 138 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญจากการสัมภาษณ์ 19 คน 2) ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนใน สพม.24 ที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรม 32 คน 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองใช้หลักสูตร คือ ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสมเด็จพิทยาคม 17 คน 4) ครูผู้สอนวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ผ่านการฝึกอบรมในขั้นตอนการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม 2 คน และ 5) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/1 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม 3) แบบทดสอบ 4) แบบประเมินการฝึกปฏิบัติ 5) แบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อหลักสูตร 6) แบบประเมินความเหมาะสมของโครงร่างหลักสูตร 7) แบบประเมินความสอดคล้องของร่างหลักสูตร 8) แบบประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรม 9) แบบสังเกตพฤติกรรมการสอน และ 10) แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน พบว่า ครูคณิตศาสตร์มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการภาษาอังกฤษอยู่บ้าง แต่ขาดการนำไปประยุกต์ใช้ในชั้นเรียนอย่างจริงจัง ขาดความมั่นใจในการใช้ภาษาอังกฤษ รู้สึกอายเมื่อต้องสื่อสารกับชาวต่างชาติหรือแม้แต่กับครูไทยด้วยกันเอง โดยกังวลว่า จะออกเสียงไม่ถูกต้อง เกรงผู้อื่นจะไม่เข้าใจในสิ่งที่พูด เกิดความกังวลทุกครั้งเมื่อเวลาพูดหรือสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ 2) ผลการออกแบบและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานช่วยให้สามารถออกแบบและเขียนโครงร่างหลักสูตรภายใต้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการสอดแทรก ส่งผลให้องค์ประกอบของโครงร่างหลักสูตรมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ 3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมที่มีประสิทธิภาพและผู้เข้าอบรมมีคะแนนจากการทำแบบทดสอบหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม และ 4) ผลการประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า หลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสมและสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Abstract

The purposes of this research was to 1) study the problems of instructional management and training needs by using English and mathematics integration skills Lower secondary school level, 2) develop teacher training curriculum by using integrated English skills with mathematics in lower secondary school level. This study was conducted by research and development which consisted of four steps as follows; step 1: study and analyze the general backgrounds, step 2: design and develop the training curriculum, step 3: experiment on training curriculum, and step 4: evaluate and improve the training curriculum. The sample groups used in this research were divided into five groups as follows; first group was 138 teachers who taught mathematics at lower secondary school level in the Office of Secondary Educational Service Area 24, and 19 key informants. The second group was 32 volunteer mathematic teachers in the Office of Educational Service Area 24. The third group was 17 sample mathematic teachers who were used in the experiment, taught mathematics at Somdet Pittayakhom School. The fourth group was two mathematic teachers who were trained by the training curriculum. And the last group was the 35 lower secondary students in 2/1 classroom. The research instruments used were 1) an interview 2) a needs questionnaire 3) a test 4) a practical evaluation form 5) a satisfactory questionnaire through training curriculum 6) an assessment form of the training curriculum outline 7) an item of congruence of the draft training curriculum 8) an evaluating form of the training curriculum quality, 9) an observation form in teaching behavior, and 10) a satisfactory questionnaire. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test dependent.

            The results of the study were as follows; 1) the result of study and the analysis of general backgrounds indicated that mathematic teachers had knowledge, a little comprehension of English integrated teaching but they could not apply it in the classroom. Mathematic teachers were less confident in English use, and were shy  to communicate with foreigners or even with Thai teachers. They were worried about their  pronunciation; they were afraid that other people could not understand their matter, they were still anxious every time when they spoke or communicated in English. 2) The result of design and development of training curriculum showed that the study and analysis of general backgrounds could help designing and outlining training curriculum under integrated teaching. As a result, all elements of the outline training curriculum were appropriate and consistent. 3) The results of experiment on training curriculum revealed that it was effective. It was be found that the participants had a higher level of knowledge and comprehension of English integrated teaching than before the training. 4) The results of evaluation and improvement of training curriculum showed that it had the appropriateness, consistency, and the effectiveness index.

Download in PDF (552.43 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.22

How to cite!

วนิดา เที่ยงสงค์, & อนุวัต ชัยเกียรติธรรม. (2563). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูโดยใช้ทักษะบูรณาการภาษาอังกฤษกับวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2), 105-121

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in