การพัฒนาสื่อชุด “ASDemocracy” เพื่อเสริมสร้างสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย เรื่อง การเลือกตั้ง สำหรับบุคคลออทิสติก
The Development of ASDemocracy toolkits to strengthen the Civil Rights and Civic Duties in the Democracy system on “Election” for People with Autism
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาสื่อชุด “ASDemocracy – เปิดโลกประชาธิปไตยให้บุคคลออทิสติก” เพื่อเสริมสร้างสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตยเรื่องการเลือกตั้งให้กับบุคคลออทิสติก โดยยึดหลักการออกแบบของ ADDIE model ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคคลออทิสติกที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ที่มีอายุระหว่าง 15-35 ปี จำนวน 10 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนและการทำสื่อสำหรับบุคคลออทิสติก ผู้เชี่ยวชาญด้านประชาธิปไตย และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญด้านออทิสติก จำนวน 5 คนได้มาแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์บุคคลออทิสติก 1 ชุด แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 3 ชุด และ แบบทดสอบคู่ขนาน ผลจากการศึกษา หลังจากการศึกษาเอกสารและสัมภาษณ์บุคคลออทิสติกและผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยสามารถพัฒนาชุดสื่อ 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วย คู่มือครู สื่อ 3 ชิ้น เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้และเป็นสื่อประสมที่เรียนผ่านการมองเห็นเป็นองค์ประกอบหลัก สื่อทั้ง 3 ได้แก่บัตรคำ โมชั่นกราฟฟิก และ มิวสิควิดีโอ หลังจากการใช้สื่อชุด“ASDemocracy – เปิดโลกประชาธิปไตยให้บุคคลออทิสติก” เป็นเวลา 1 เดือน บุคคลออทิสติกกลุ่มตัวอย่างเข้าใจเรื่องสิทธิและหน้าที่ในฐานะพลเมืองไทยมากขึ้น เห็นได้จากผลสัมฤทธิ์ที่พัฒนาขึ้นเปรียบเทียบก่อนเรียนและหลังเรียน และสามารถดำเนินการเลือกตั้งในสถานการณ์จำลองได้ถูกต้องและไม่ผิดกฏหมายเลือกตั้ง
Abstract
The objective of this study was to develop an “ASDemocracy” toolkit to help people with autism spectrum disorder (ASD) in order to strengthen their Civil Rights and Civic Duties in the Democracy system on Election. The samples of this study were 10 people with ASD in a school in Bangkok and its vicinity who were 15-35 years old and 5 experts on learning media for people with Autism, democracy and, Autism. Both groups were selected by purposive sampling. The tools used in this study were one interview form for people with ASD, three interview form for experts and the parallel tests.
After studying, the researchers developed a toolkit which consists of a teacher guidebook and 3 learning tools according to the objective of the study. As people with ASD are visual learners according to theories and researches, they are naturally taught with pictures; so all the learning tools were visual strategies. Therefore, the 3 learning tools were 1) flashcards on civil rights and civic duties 2) motion graphic on basic knowledge of an election and 3) music video on election processes. After using the toolkit for 1 month, people with ASD realized their own Civil Rights and Civic Duties on election as the learning achievement was higher than before using the toolkit and they also could be able to go through the simulation of election process without breaking the law.
Keywords
บุคคลออทิสติก ; ชุดสื่อ ; การเลือกตั้ง ; หลักการออกแบบของ ADDIE model; สิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย
How to cite!
ศิตา เยี่ยมขันติถาวร (2563). การพัฒนาสื่อชุด “ASDemocracy” เพื่อเสริมสร้างสิทธิและหน้าที่ในระบอบประชาธิปไตย เรื่อง การเลือกตั้ง สำหรับบุคคลออทิสติก. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2), 138-152
Indexed in