วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความหมายของนิสิตคณะครุศาสตร์ด้วยกระบวนการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบรายวิชาปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

Enhancing meaningful learning of preservice teachers by the students as co-creators process in the behavior problems of children with special needs course


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบรายวิชา (students as co-creators) ในรายวิชา 2) วิเคราะห์และเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจด้านปัญหาพฤติกรรมและทักษะวางแผนการแก้ปัญหาพฤติกรรมของนิสิตระหว่างก่อนกับหลังการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบ และ 3) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความหมายของนิสิตภายหลังการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบรายวิชา ซึ่งดำเนินการปรับการเรียนการสอนผ่านกระบวนการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบรายวิชาตั้งแต่ต้นภาคการศึกษา ระหว่างภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นิสิตคณะครุศาสตร์ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2561 ชั้นปีที่ 3 – 4 จำนวน 15 คนที่ลงทะเบียนในรายวิชาปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลองและระยะติดตาม 4 สัปดาห์ โดยเครื่องมือ 2 ประเภท ได้แก่ แบบสอบวัดความรู้ความเข้าใจด้านปัญหาพฤติกรรมและทักษะการวางแผนแก้ปัญหาพฤติกรรม และ แบบสัมภาษณ์ของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนในรายวิชา (ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.66-1.00) ดำเนินการเรียนการสอนทั้งหมด 15 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยายและสูตรคะแนนพัฒนาการและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการจัดประเด็นและสรุปประเด็น (Theming and Categorizing) ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า 1) การออกแบบรายวิชาโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมเริ่มตั้งแต่การเลือกหัวข้อในแต่ละสัปดาห์ การจัดเรียงหัวข้อเนื้อ รูปแบบการเรียนการสอน งานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนเกณฑ์และวิธีการประเมิน 2) นิสิตมีคะแนนความรู้ความเข้าใจด้านปัญหาพฤติกรรมและทักษะวางแผนการแก้ปัญหาพฤติกรรมสูงขึ้นหลังจากการจัดการเรียนการสอนด้วยกระบวนการ students as co-creators และมีคะแนนความรู้ความเข้าใจและทักษะการวางแผนการแก้ปัญหาคงที่หลังจากผ่านไป 1 เดือน และ 3) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่านิสิตเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความหมายโดยเกิดเข้าใจเนื้อหาและนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้

Abstract

This study aims to 1) develop learning and teaching activities with the students as co-creator process in a course 2) analyze and compare knowledges in behavior problems and problem solving skills of pre-service teachers between before and after implementing learning and teaching activities with the students as co-creator process and 3) investigate meaningful learning of preservice teachers after involving in learning and teaching activities with the students as co-creator process in the behavior problems of children with special need course. The course were designed by the teacher and students since in the beginning of the course and throughout the course. The classroom action research was employed. Fifteen preservice teachers who were in year 3rd-4th of 2018 academic year were participated in the course for 15 weeks. The data from pre-post of knowledge and skill test and focus group interview of the participants were collected (IOC = 0.66-1.00). Descriptive statistic and gain score were used for quantitative data analysis and theming and categorizing were used for qualitative data analysis. The result showed that 1) the course involved students in choosing and arranging the topics or contents in each week, designing learning activities and assignment, and making decision on assessment system. 2) The participants gained higher score in knowledge as well as skill test after the course and were still lasting after four weeks. 3) The participants reported that they found the course was beneficial and gain knowledge and understanding that they were able to apply in relevant situations.

Download in PDF (508.96 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.23

How to cite!

วาทินี อมรไพศาลเลิศ (2563). การส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความหมายของนิสิตคณะครุศาสตร์ด้วยกระบวนการให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบรายวิชาปัญหาพฤติกรรมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(2), 122-137

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in