วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

Needs Assessment of Spatial Ability Improvement of Students in the Field of Design in Thai Higher Educational Institutions

การศึกษาความต้องการพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนในสถาบันการอุดมศึกษาไทย สาขาวิชาออกแบบ


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนในสาขาวิชาออกแบบ และศึกษาแนวทางการพัฒนาความความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนในสาขาวิชาออกแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) ผู้สอนจากมหาวิทยาลัยของรัฐบาลและเอกชน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง จาก 5 ภูมิภาคของประเทศไทย 2) ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้สอนแบบมีโครงสร้าง 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ความถี่และร้อยละจากผลการทดสอบ ผลการศึกษาพบว่า 1) มีผู้เรียนกลุ่มอ่อนในสาขาวิชาการออกแบบและมีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์  2) การมองภาพไอโซเมตริก (Isometric) ภาพออโธกราฟิก (Orthographic) และภาพตัด (Section) เป็นเนื้อหาที่มีความจำเป็นสำหรับการฝึกมองภาพ การรับรู้ขนาด สัดส่วน รูปร่าง รูปทรง การเปลี่ยนตำแหน่งมุมมองภาพ การเชื่อมโยงภาพ 2 มิติ กับภาพ 3 มิติ และการหมุนภาพในใจ โดยให้มีโจทย์ที่หลากหลาย ตั้งแต่ง่ายไปจนถึงระดับซับซ้อน 3) รูปแบบการเสริมต่อการเรียนรู้ทาง
ทัศนภาพ (Visual scaffolding) เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยในการมองภาพ ได้แก่ เส้นประ เส้นกริด เส้นโปรเจคชั่น ตัวอักษร สี และภาพวัตถุ 3 มิติเคลื่อนไหวแบบโต้ตอบ และ 4) มัลติมีเดียประเภทนำเสนอเนื้อหาและการฝึกฝน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง เหมาะสมแก่การนำไปใช้พัฒนาทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์

Abstract

The purpose of this study was to assess needs for spatial ability improvement of undergraduate students majoring in design as well as provide guidelines for the improvement of their spatial ability. The samples were: 1) instructors from public and private universities sampled from five regions in Thailand by using purposive sampling method and 2) undergraduate students in the field of design. The instruments were: 1) the instructor interview schedule and 2) the spatial ability test. The data obtained from the interview were analyzed to find out frequency and percentage.  The result revealed that 1) some samples were found to be students with low competency who needed spatial ability improvement; 2) practice of reading isometric, orthographic, and section views was found to be a key for spatial ability improvement, helping students to learn the scale, proportion, dimension, shape, form and viewpoint or perspective of illustrations, 2D and 3D visualization, and mental rotation through problems with different levels of difficulty; 3) visual scaffolding played a significant role as it could support students’ comprehension of illustrations including dashed lines, grid lines, projection lines, letters, colors, and dynamic interactive 3D object; and 4) multimedia with tutorials and drills could support self-learning and improve students’ spatial thinking.

Download in PDF (442.32 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.21

How to cite!

Lohakarn, N., Tantrarungroj, P., & Suwannatthachote, P. (2563). การศึกษาความต้องการพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนในสถาบันการอุดมศึกษาไทย สาขาวิชาออกแบบ. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 14(2), 91-104

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in