วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ประกอบผังกราฟิกสำหรับเด็กปฐมวัย

Development of Analytical Thinking Skills through Scientific Outdoor Activities with Graphic Organizers for Preschool Children


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผังกราฟิกสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กปฐมวัยชาย - หญิง อายุระหว่าง 5 - 6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฎร้อยเอ็ด อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 35 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) การเก็บข้อมูลใช้ระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผังกราฟิก และแบบประเมินเชิงปฏิบัติการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์สำหรับเด็กปฐมวัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัยก่อนได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.37 และหลังได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.66 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.18

เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการเปรียบเทียบของเด็กปฐมวัยก่อนได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผังกราฟิก มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.93 ด้านการคาดคะเน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.88 และด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.11 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.79 ภายหลังการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียนประกอบผังกราฟิก พบว่า เด็กปฐมวัยมีคะแนนเฉลี่ยทุกด้านสูงขึ้น โดยทักษะการคิดวิเคราะห์ด้านการเปรียบเทียบ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.73 ด้านการคาดคะเน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.74 และด้านการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40

Abstract

The purpose of this research was to develop analytical thinking skills through scientific outdoor activities with graphic organizers for preschool children. Subjects used in this research consisted of 35 male and female preschool children were between 5 to 6 years old and studied in kindergarten level 3 in the second semester year of 2017. Subjects were selected by using purposive sampling from The Demonstration School of Roi - Et Rajabhat University, Selaphum, Roi – Et. The research takes 8 weeks for data collection. The research instruments included plans of scientific outdoor activities with graphic organizers and practical assessment of analytical thinking skills of preschool children. The obtained data was analyzed by mean and standard deviation.

The research results found that the analytical thinking skills of the preschool children before they are exposed to scientific outdoor activities with graphic organizers has the average mean score of 8.77 and the standard deviation of 1.37. However, after the preschool children have participated in the scientific outdoor activities with graphic organizers, the average mean score is changed to 13.66 with the standard deviation of 1.18.

When considering the areas of analytical thinking skills in comparison, prediction, associative relationship skills, it is found that the analytical thinking skills in term of comparison among the preschool children before have participated in the scientific outdoor activities with graphic organizers, the average mean score is 3.20 with the standard deviation of 0.93. The average mean score of prediction is 2.46 and the standard deviation is 0.88, whilst the average score of the associative relationship is 3.11 and the standard deviation is 0.79. However, after the preschool children have participated in the scientific outdoor activities with graphic organizers, it is noticed that the preschool children can earn higher scores in every measured activities. According to the analytical thinking skills of the comparison, they have earned an average mean score of 4.57 and the standard deviation of 0.73. The average mean score of prediction is 4.26 and the standard deviation is 0.74. Finally, the average mean score of the associative relationship is 4.80 and the standard deviation is 0.40.

Download in PDF (393.83 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2020.12

How to cite!

อัครพล ไชยโชค, ปัทมาวดี เล่ห์มงคล, & ปิยะนันท์ หิรัณย์ชโลทร. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน ประกอบผังกราฟิกสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 164-176

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in