ลำดับขั้นคุณลักษณะของการรู้สะเต็มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Attribute Hierarchy of STEM Literacy for Lower Secondary School Students
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดคุณลักษณะการรู้สะเต็มและจัดลำดับขั้นคุณลักษณะการรู้สะเต็มสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การกำหนดคุณลักษณะการรู้สะเต็ม โดยใช้เทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสะเต็ม จำนวน 3 รอบ ผู้ร่วมเดลฟายประกอบด้วยเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนจำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิศวกรรม ด้านละ 7 คน โดยใช้แบบสอบถาม 3 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด ส่วนแบบสอบถามรอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นปลายปิดเพื่อหาฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐานและพิสัยระหว่าง ควอร์ไทล์ (2) การจัดลำดับขั้นคุณลักษณะการรู้สะเต็ม โดยการประเมินความสอดคล้องของแผนภาพแสดงความสัมพันธ์เชิงลำดับขั้นคุณลักษณะจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา จำนวน 3 คน และทูตสะเต็มศึกษาหรือครูผู้ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาระดับชาติ จำนวน 2 คน โดยใช้แบบประเมินความสอดคล้องแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ เชิงลำดับขั้นคุณลักษณะแล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัดส่วน
ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการรู้สะเต็มแบ่งเป็น 4 ด้าน (1) การรู้วิทยาศาสตร์ ได้แก่ (1.1) อธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ (1.2) ตีความข้อมูลจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (1.3) ใช้เหตุผลในการโต้แย้งเกี่ยวกับประเด็นทางวิทยาศาสตร์ (1.4) ประเมินผลการออกแบบทางวิทยาศาสตร์ (2) การรู้เทคโนโลยี ได้แก่ (2.1) รู้จักและใช้เทคโนโลยี (2.2) วิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมเทคโนโลยี (2.3) ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยี (3) การรู้วิศวกรรม ได้แก่ (3.1) อธิบายกระบวนการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามหลักการออกแบบวิศวกรรม (3.2) ประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (3.3) ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้งานผลิตภัณฑ์ และ (4) การรู้คณิตศาสตร์ ได้แก่ (4.1) อธิบายสถานการณ์ของปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์ (4.2) อธิบายหรือใช้หลักการ เหตุและผล/ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา (4.3) ทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ (4.4) ตีความและประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ ส่วนผลการจัดลำดับขั้นคุณลักษณะการรู้สะเต็มสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้ง 4 ด้าน เป็นแบบลำดับขั้นเชิงเส้นที่มีลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะในลักษณะเส้นตรงที่มีจุดสิ้นสุดจุดเดียว ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาแบบทดสอบสำหรับประเมินความก้าวหน้าที่ใช้ลำดับขั้นของคุณลักษณะตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นสถานะความรู้ ทักษะและกระบวนการทางปัญญา อันเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้และพัฒนานักเรียนตามแนวทาง สะเต็มศึกษาได้
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดคุณลักษณะการรู้สะเต็มและจัดลำดับขั้นคุณลักษณะการรู้สะเต็มสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การกำหนดคุณลักษณะการรู้สะเต็ม โดยใช้เทคนิคเดลฟายจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับสะเต็ม จำนวน 3 รอบ ผู้ร่วมเดลฟายประกอบด้วยเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอนจำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านคณิตศาสตร์และด้านวิศวกรรม ด้านละ 7 คน โดยใช้แบบสอบถาม 3 ฉบับ โดยฉบับที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด ส่วนแบบสอบถามรอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นปลายปิดเพื่อหาฉันทามติจากผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัธยฐานและพิสัยระหว่าง ควอร์ไทล์ (2) การจัดลำดับขั้นคุณลักษณะการรู้สะเต็ม โดยการประเมินความสอดคล้องของแผนภาพแสดงความสัมพันธ์เชิงลำดับขั้นคุณลักษณะจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สะเต็มศึกษา จำนวน 3 คน และทูตสะเต็มศึกษาหรือครูผู้ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสะเต็มศึกษาระดับชาติ จำนวน 2 คน โดยใช้แบบประเมินความสอดคล้องแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ เชิงลำดับขั้นคุณลักษณะแล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสัดส่วน
ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการรู้สะเต็มแบ่งเป็น 4 ด้าน (1) การรู้วิทยาศาสตร์ ได้แก่ (1.1) อธิบายปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์ (1.2) ตีความข้อมูลจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (1.3) ใช้เหตุผลในการโต้แย้งเกี่ยวกับประเด็นทางวิทยาศาสตร์ (1.4) ประเมินผลการออกแบบทางวิทยาศาสตร์ (2) การรู้เทคโนโลยี ได้แก่ (2.1) รู้จักและใช้เทคโนโลยี (2.2) วิเคราะห์และประเมินความเหมาะสมเทคโนโลยี (2.3) ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยี (3) การรู้วิศวกรรม ได้แก่ (3.1) อธิบายกระบวนการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามหลักการออกแบบวิศวกรรม (3.2) ประยุกต์หลักการทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (3.3) ประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการใช้งานผลิตภัณฑ์ และ (4) การรู้คณิตศาสตร์ ได้แก่ (4.1) อธิบายสถานการณ์ของปัญหาในเชิงคณิตศาสตร์ (4.2) อธิบายหรือใช้หลักการ เหตุและผล/ กระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหา (4.3) ทำนายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ (4.4) ตีความและประเมินผลลัพธ์ทางคณิตศาสตร์ ส่วนผลการจัดลำดับขั้นคุณลักษณะการรู้สะเต็มสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้ง 4 ด้าน เป็นแบบลำดับขั้นเชิงเส้นที่มีลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะในลักษณะเส้นตรงที่มีจุดสิ้นสุดจุดเดียว ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาแบบทดสอบสำหรับประเมินความก้าวหน้าที่ใช้ลำดับขั้นของคุณลักษณะตามแนวคิดทฤษฎีพุทธิปัญญา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นสถานะความรู้ ทักษะและกระบวนการทางปัญญา อันเป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้และพัฒนานักเรียนตามแนวทาง สะเต็มศึกษาได้
Keywords
คุณลักษณะ; ลำดับขั้นคุณลักษณะ; สะเต็มศึกษา; การรู้สะเต็ม; Attribute; Attribute Hierarchy; STEM Education; STEM Literacy
DOI: 10.14456/jrtl.2020.4
How to cite!
นพรัตน์ ใบยา, สังวรณ์ งัดกระโทก, & ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2563). ลำดับขั้นคุณลักษณะของการรู้สะเต็มสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 14(1), 49-65
Indexed in