วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

The Development of Productivity Based Instruction Model for Enhancing The Educational Innovation Skills for Undergraduate Student in The Faculty of Education in The North Eastern Rajabhat University


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ 3) เปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม ผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการเรียนการ สอนเชิงผลิตภาพ และระยะที่ 3 การเปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษาที่ ใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ ฯ ของกลุ่มทดลองกับการเรียนการสอนแบบปกติของกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด เลือกโดยวิธีการเลือกตามความสะดวก (Convenience Sampling) เนื่องจาก เป็นกลุ่มตัวอย่างที่สามารถควบคุมได้ หน่วยงานให้ความร่วมมือในการดำเนินการทดลองและหน่วยงานมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง จำนวน 28 คน จัดการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนฯ และกลุ่มควบคุมจำนวน 28 คน จัดการเรียนการสอนแบบปกติ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent Samples t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ มี 4 องค์ประกอบ คือ หลักการและแนวคิด วัตถุประสงค์ของรูปแบบ กระบวนการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผล 2) รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพฯ มี 4 องค์ประกอบและประกอบด้วยกระบวนการเรียน 4 ขั้นตอน 3) ผลการเปรียบเทียบทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษากลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนด้านพุทธิพิสัยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 คะแนนด้านทักษะพิสัย ผู้เรียนกลุ่มทดลอง มีคะแนนรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก ซึ่งมากกว่ากลุ่มควบคุม และด้านจิตพิสัย พบว่า ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

Abstract

This research aimed to 1) study the elements of Productivity Based Instruction 2) development of Productivity Based Instruction 3) compare of the innovation skills between the students using Productivity Based Instruction Model of the experimental group and the normal teaching of the control group. The research method was divided into 3 phases; Phase 1: study the elements of Productivity Based Instruction, Phase 2: development of Productivity Based Instruction and Phase 3: compare of the innovation skills between the students using Productivity Based Instruction Model of the experimental group and the normal teaching of the control group. The samples of this research were student in the faculty of Education, Roi Et Rajabhat University selected by convenience sampling because they could be controlled, they cooperated to conduct the experiment and they had readiness of information technology divided into 28 student’s of experimental group who used the Productivity Based Instruction Model and 28 student’s of control group who used normal teaching. The statistics used were percentage, mean, standard deviation, and Independent samples t-test.

The research results were as follows: 1) productivity Based Instruction Model had 4 main elements that were Principle and Concepts, the Purpose, Teaching Process and Measurement and Evaluation, 2) productivity Based Instruction Model had 4 main elements and the process of teaching productivity for enhancing the educational innovation skills has 4 steps, 3) the results of the comparison of students' innovation skills between experimental group and control group were the average score on the cognitive domain of experimental group was an overall cognitive score on the principle of innovation after used this model higher than the control group at the statistical significance level of .05 , Psychomotor Domain score of experimental group had the average skill range was very good and Analyze learners' satisfaction toward Productivity Based Instruction Model found the learners were satisfied with the Productivity Based Instruction Model at the high level.

Download in PDF (428.03 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.19

How to cite!

ทนันยา คำคุ้ม, & ฐาปนี สีเฉลียว. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างนวัตกรรมการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(2), 71-86

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in