วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาชุดทดสอบความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Development of A Set of Assessment Tests of Mathematics Talent of Mathayomsuksa IV Students


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดทดสอบความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) ตรวจสอบคุณภาพชุดทดสอบความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) หาประสิทธิภาพชุดทดสอบความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น

กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จังหวัดปทุมธานีและจังหวัดชลบุรี และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 จากโรงเรียนอื่น จำนวน 862 คน ประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ 431 คนและนักเรียนที่มีความสามารถทั่วไป 431 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่ม 1 ใช้เพื่อพัฒนาชุดทดสอบ กลุ่ม 2 ใช้เพื่อตรวจสอบคุณภาพชุดทดสอบ และกลุ่ม 3 ใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพชุดทดสอบ แต่ละกลุ่มประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์จำนวน 117 คน 188 คนและ 126 คนตามลำดับ และนักเรียนที่มีความสามารถทั่วไป จำนวน 117 คน 188 คนและ 126 คน ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์คุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหาด้วยดัชนีความสอดคล้อง วิเคราะห์คุณภาพของข้อสอบรายข้อทั้งความยากและอำนาจจำแนก วิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้างของชุดทดสอบใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการจำแนกกลุ่มนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์และนักเรียนที่มีความสามารถทั่วไปด้วย การหาค่า T ปกติของคะแนนการทดสอบของแต่ละกลุ่ม และทดสอบค่าเฉลี่ยความสามารถด้วยการทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดทดสอบความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประกอบด้วยชุดทดสอบ จำนวน 4 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 แบบสำรวจแววนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์โดยครู ฉบับที่ 2 แบบทดสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ฉบับที่ 3 แบบทดสอบความคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์และฉบับที่ 4 แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์ 2) ผลการตรวจสอบคุณภาพของชุดทดสอบพบว่า มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.69 – 1.00 ค่าความยากง่ายมีค่าระหว่าง 0.20 – 0.79 ค่าอำนาจจำแนกมีค่าระหว่าง 0.20 – 0.74 ค่าความเที่ยงมีค่าระหว่าง 0.792 – 0.997และความตรงตามโครงสร้างมีความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตามโครงสร้างของชุดทดสอบทั้ง 4 ชุด และพบว่าอำนาจจำแนกแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สามารถจำแนกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์กับนักเรียนที่มีความสามารถทั่วไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ด้านประสิทธิภาพชุดทดสอบความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์พบว่าสามารถจำแนกนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์และนักเรียนที่มีความสามารถทั่วไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of this research were (1) to develop a set of assessment tests of mathematics talent for Mathayom Suksa IV students; (2) to validate quality of the set of assessment tests of mathematics talent for Mathayom Suksa IV students; and (3) to determine efficiency of the set of assessment tests of mathematics talent for Mathayom Suksa IV students developed by the researcher.

The research sample consisted of 862 Mathayom Suksa IV students form Princess Chulaphorn’s college, Phatum Thani province, Chonburi province and Mathayom Suksa IV students from other schools comprising 431 mathematics talented students and 431 students with general talents. They were randomly divided into three groups as follows: the first group to be employed for development of a set of assessment tests of mathematics talent; the second group to be employed for validating quality of the developed set of assessment tests of mathematics talent; and the third group to be employed for determining efficiency of the set of assessment tests of mathematics talent. Each group consisted of 117, 188 and 126 mathematics talented students and 117, 188 and 126 students with general talents. Statistics employed for data analysis were the Index of Item Objective Congruence for analysis of content validity, the difficulty and discrimination indices for analysis of quality of each test item, the confirmatory factor analysis for analysis of construct validity, the normalized T-score of each group of students to discriminate the mathematics talented students from the students with general talents, and the t-test for determining the difference of mean scores of the groups.

The research results were as follows: (1) the developed set of assessment tests of mathematics talent for Mathayom Suksa IV students comprised four tests as follows: the first test was an inventory test to identify promising mathematics talented students for teachers; the second test was a mathematical ability test; the third test was a mathematical critical thinking test; and the fourth test was a mathematical creative thinking test; (2) results of quality validation of the developed set of assessment tests of mathematic talent showed that each test item had content validity, ranged from 0.62 – 1.00 ; The difficulty values ranged from 0.20 – 0.79, The discriminatory values ranged from 0.20 – 0.74, The reliability values ranged from 0.79 – 0.99. while the construct validity of the tests was indicated by the goodness of fit with empirical data; it was also found that the mathematical creative thinking test was capable of discriminating the mathematics talented students from the students with general talents at the .05 level of statistical significance; and (3) regarding efficiency of the set of assessment tests of mathematics talent, it was found that the set was capable of discriminating the mathematics talented students from the students with general talents at the .05 level of statistical significance.

Download in PDF (415.5 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.10

How to cite!

สมพร เชื้อพันธ์, & กาญจนา วัธนสุนทร. (2562). การพัฒนาชุดทดสอบความสามารถพิเศษทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 129-144

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in