วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวยด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

An Action Research on Developing Learning Management in the topic of Conic Sections using Design Thinking Process to enhance Creative Problem Solving Competency of Students in Grade 10


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่อง ภาคตัดกรวย ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 24 คน ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนจำนวน 4 วงจรปฏิบัติการ โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบจำนวน 4 แผนแบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ ใบกิจกรรม แบบประเมินชิ้นงานและแบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า

ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ เรื่อง ภาคตัดกรวย  มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจปัญหา (Empathy) ขั้นที่ 2 นิยามปัญหา (Define) ขั้นที่ 3 สร้างความคิด (Ideate) ขั้นที่ 4 สร้างต้นแบบ (Prototype) และขั้นที่ 5 ทดสอบ (Test) โดยมีประเด็นที่ควรเน้น ได้แก่การทบทวนความรู้พื้นฐานที่จำเป็นให้แก่นักเรียนสำหรับนำไปใช้ในการออกแบบชิ้นงานและแก้ปัญหาการเลือกใช้ปัญหาการออกแบบหรือสถานการณ์ปัญหาในชีวิตจริงและการออกแบบชิ้นงานที่ใช้องค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ในเรื่องที่เรียนให้มีความหลากหลายรวมถึงการกระตุ้นนักเรียนให้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสม่ำเสมอทั้งนี้เมื่อพิจารณาระดับความสามารถโดยรวมพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับดี

Abstract

This research aimed to study the learning approach through design thinking process in the topic of Conic Sections to enhance creative problem solving competency of students in grade 10. The participants consisted of 24 students in grade 10 of Princess Chulabhorn Science High School Phitsanulok in the second semester of 2016 academic year. The research methodology was the classroom action research comprising of 4 action spirals and take totally 12 hours in this study. The instruments used in the research were four lesson plans based on design thinking process in the topic of Conic Sections, reflective learning journals, activity sheets, work piece evaluation form, andcreative problem solving competency test. Data were analyzed by content analysis and data creditability by triangulation method.

The results revealed that the learning approach through design thinking process in the topic of Conic Sections composed of 5 steps as follow: 1) empathy, 2) define, 3) ideate, 4) prototype, and 5) test. Furthermore, the teacher should emphasize on review students fundamental knowledge required for designing work piece and solving problems, selecting mathematical design challenges or problem situation in real life, designing work piece that lead students to apply various mathematical knowledge in Conic Sections, and encouraging students to regularly do activities. All this, most of students were in good level of creative problem solving competency.

Download in PDF (898.32 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.6

How to cite!

พันธ์ยุทธ น้อยพินิจ, วนินทร สุภาพ, & จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม. (2562). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ภาคตัดกรวยด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 70-84

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in