วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมที่บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกระบวนการนวัตกรรมและการคิดนอกกรอบ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการสอนอย่างสร้างสรรค์ สำหรับอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา

Development of a Training Model Integrating Information and Communication Technology into Innovation and Lateral Thinking Processes to Enhance University Instructors’ Capabilities of Creative Instructional Design


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร และการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา สำหรับอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับ (ร่าง) รูปแบบการฝึกอบรมที่บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกระบวนการนวัตกรรมและการคิดนอกกรอบ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการสอนอย่างสร้างสรรค์ สำหรับอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาและ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการฝึกอบรมที่บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในกระบวนการนวัตกรรมและการคิดนอกกรอบ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการสอนอย่างสร้างสรรค์ สำหรับอาจารย์สถาบันอุดมศึกษาโดยใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาในครั้งนี้เป็นอาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศแบ่งตามภูมิภาคจำนวน 400 คน โดยวิธีการต่อไปนี้ 1) สุ่มแบบแบ่งกลุ่มจากอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จำนวน 155 แห่งทั่วประเทศ ได้ทั้งสิ้น 9 กลุ่ม ดังนี้ ภาคเหนือตอนบนภาคเหนือตอนล่างภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคกลางตอนบนภาคกลางตอนล่างภาคตะวันออกภาคใต้ตอนบนและ ภาคใต้ตอนล่าง 2) สุ่มแบบสัดส่วน โดยการสุ่มจากจำนวนอาจารย์ผู้สอนในสถาบันอุดมศึกษาในแต่ละภูมิภาค ดังนี้ ภาคเหนือตอนบน จำนวน 9 คน ภาคเหนือตอนล่าง จำนวน 6 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจำนวน 6 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างจำนวน 9 คน ภาคกลางตอนบนจำนวน 39 คน ภาคกลางตอนล่างจำนวน 21 คน ภาคตะวันออกจำนวน 3 คน ภาคใต้ตอนบนจำนวน 2 คน
และ ภาคใต้ตอนล่างจำนวน 3 คน และ 3) สุ่มแบบอย่างง่าย ด้วยการจับฉลากเลือกภูมิภาค ภูมิภาคละ 5 มหาวิทยาลัย

เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พบว่า 1) อาจารย์ส่วนใหญ่ยังไม่ได้ออกแบบรายวิชาตามกระบวนการออกแบบและพัฒนาการเรียนการสอน และสอนแบบเผชิญหน้าเป็นหลัก มีส่วนน้อยที่สอนแบบออนไลน์ และยังมีอาจารย์เป็นส่วนน้อยที่มีประสบการณ์การสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน 2) ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยกับเทคนิคการคิดนอกกรอบของ Dr. Edward De Bono และขั้นตอนการฝึกอบรมออนไลน์ 3) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยระยะการฝึกอบรม 3 ระยะ และในแต่ละระยะของการฝึกอบรมก็จะประกอบไปด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะปฐมนิเทศ ประกอบไปด้วย 1) ปฐมนิเทศการฝึกอบรม 2) แนะนำเครื่องมือแบบออนไลน์ และแบบเผชิญหน้า 3) ประเมินคุณลักษณะการคิดนอกกรอบก่อนการฝึกอบรม 4) แนะนำเนื้อหาการฝึกอบรม ระยะที่ 2 ระยะฝึกการคิดนอกกรอบ ประกอบไปด้วย 5) เข้าสู่การฝึกอบรมด้านการออกแบบการเรียนการสอน 6) เข้าสู่การฝึกอบรมด้านการคิดนอกกรอบ 7) ระบุปัญหาการเรียนการสอนโดยเทคนิคการคิดนอกกรอบ 8) ออกแบบการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการคิดนอกกรอบ และระยะที่3ประเมินผลโครงการฝึกอบรม ประกอบไปด้วย 9) ประเมินคุณลักษณะการคิดนอกกรอบหลังการฝึกอบรม
และ 10) ประเมินผลโครงการฝึกอบรม

Abstract

The objectives of this research were to investigate technology-based instructional design and instructional innovation of university instructors and to survey educational experts’ opinions towards a training integrating information and communication technology into innovation and lateral thinking processes to enhance university instructors’ capabilities of creative instructional design and create a training program for them. The subjects were 410 instructors from regional higher educational institutions in Thailand sampling by: 1) cluster sampling from population comprised of 215,775 instructors from 155 public and private universities in Thailand to 9 regional upper north, lower north, upper northeast, lower northeast, upper central, lower central, eastern, upper south and lower south 2) Proportion Sampling from population of 9 regional: upper north 9 instructors, lower north 6 instructors, upper northeast 6 instructors, lower northeast 9 instructors, upper central 39 instructors, lower central 21 instructors, eastern 3 instructors, upper south 2 instructors and lower south 3 instructors and 3) simple sampling by raffle 5university from 9 regional.

The data were collected through questionnaires. The result revealed that most of the subjects did not follow the principle of instructional design and development when designing their instruction. They mostly applied face-to-face instruction, and quite a few of them did online instruction. In addition, a few of them had experience in creating instructional innovation.  In terms of experts’ opinions, it was found out that the experts agreed with the lateral thinking techniques suggested by Dr. Edward De Bono and the online training process. The training would be divided into 3 phrases: first phrase: orientation there were 1) orientation 2) introduced instruments for classroom and online training 3) pre evaluation for lateral thinking characteristic 4) provide basic knowledge, second phrase: lateral thinking practice there were 5) instructional design expert training 6) lateral thinking expert training 7) identified problem of learning and teaching using lateral thinking technique 8) instructional design by using lateral thinking technique, and third phrase: training project evaluation, there were 9) post evaluation for lateral thinking characteristic 10) evaluate training project.

Download in PDF (427.06 KB)

DOI: 10.14456/jrtl.2019.4

How to cite!

Paweena Sujaritthanarak, Onjaree Na-Takuathung, & Naowanit Songkram. (2562). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมที่บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในกระบวนการนวัตกรรมและการคิดนอกกรอบ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการสอนอย่างสร้างสรรค์ สำหรับอาจารย์สถาบันอุดมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 13(1), 46-54

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in