วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง และความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1

Correlation Analysis between Self-Directed Learning Readiness and Achievement Levels of the First-year Students Taking a Japanese Course


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองในภาพรวมและรายด้านทั้ง 8 องค์ประกอบ และ 2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง กับความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1 โดยกลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น 1 คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ในปีการศึกษา 2559 จำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ศึกษาประกอบด้วยแบบวัดความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสหสัมพันธ์

ผลการวิจัยพบว่า

1) ระดับความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาในภาพรวม อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย = 3.50) เมื่อพิจารณารายด้านทั้ง 8 องค์ประกอบพบว่ามี 7 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยในระดับสูงได้แก่ การเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.33) การยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น (ค่าเฉลี่ย = 4.28) การมองอนาคตในแง่ดี (ค่าเฉลี่ย = 4.08) ความรักในการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 4.04) การมีมโนทัศน์ของตนเองในการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ (ค่าเฉลี่ย = 3.87) ความสามารถในการใช้ทักษะทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและทักษะการแก้ปัญหา (ค่าเฉลี่ย = 3.87) ความคิดสร้างสรรค์ (ค่าเฉลี่ย = 3.63) ตามลำดับและมีองค์ประกอบ 1 ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยปานกลาง ได้แก่ การมีความคิดริเริ่มและการมีอิสระในการเรียนรู้ (ค่าเฉลี่ย = 3.11)

2) ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองกับความสามารถทางการเรียน พบว่าระดับความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเองด้านการมีความคิดริเริ่มและการมีอิสระในการเรียนรู้ (r = 0.288) ด้านการเปิดโอกาสต่อการเรียนรู้ (r = 0.284) และด้านความสามารถในการใช้ทักษะทางการศึกษาขั้นพื้นฐานและทักษะการแก้ปัญหา (r = 0.270) มีความสัมพันธ์กันทางบวกกับความสามารถทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ด้านการมีมโนทัศน์ของตนเองในการเป็นผู้เรียนที่มีประสิทธิภาพ (r = 0.214) มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าด้านความรักในการเรียนรู้ (r = 0.197) ด้านความคิดสร้างสรรค์ (r = 0.129) ด้านการมองอนาคตในแง่ดี (r =0.011) มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้ยังพบว่า ด้านการยอมรับในสิ่งที่เกิดขึ้น จากการเรียนรู้ของตนเอง (r = -0.048) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความสามารถทางการเรียนอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate the level of self-directed learning readiness (SDLR) of the first-year student taking a Basic Japanese Course at Faculty of Arts, Silpakorn University, and 2) to analyze the correlation between the students´ SDLR and their achievement levels. The data were collected from 99 first-year students enrolled in 442101 Basic Japanese 1 course in the first semester of 2016 academic year. The instruments of this study included the self-directed learning readiness scales (SDLR). Descriptive statistic, and correlation were used to analyze the data.

The results of the study revealed as follows:

1) The students had self-directed learning readiness at the moderate level in overall aspect (mean = 3.50). When examining each aspect, it was found that self-directed learning readiness in Openness to learning opportunities (mean = 4.33), informed acceptance of responsibility for one’s own learning (mean = 4.28), positive orientation to the future (mean = 4.08), love of learning (mean = 4.04), self-concept as an effective learner (mean = 3.87), ability to use basic study skills and problem-solving skills (mean = 3.87), creativity (mean = 3.63) were at the high level while Initiative and independence in learning (mean = 3.11) was at the moderate level.

2) The mean of the SDLR and achievement levels are positively correlated at the 0.01 level of significance in initiative and independence in learning (r = 0.288), openness to learning opportunities (r = 0.284), ability to use basic study skills and problem-solving skills (r = 0.270); the mean of the SDLR and achievement levels are positively correlated at the 0.05 level of significance in self-concept as an effective learner (r = 0.214); the mean of the SDLR and achievement levels are positively correlated at the 0.05 level of non-significance in love of learning (r = 0.197), creativity (r = 0.129), positive orientation to the future (r = 0.011). the mean of the SDLR and achievement levels are negatively correlated at the 0.05 level of non-significance in non-significance in informed acceptance of responsibility for one’s own learning (r = -0.048).

Download in PDF (523.42 KB)

How to cite!

ชฎาภรณ์ จันทร์ประเสริฐ (2561). การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างความพร้อมในการเรียนรู้แบบนำตนเอง และความสามารถทางการเรียนของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(2), 116-131

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in