วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

Developing Higher Order Thinking Skills of Junior Students through the Flipped Classroom Instruction and Task-Based Teaching in a Literature Course

การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงผ่านการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน และการสอนแบบอิงงานปฏิบัติในรายวิชาวรรณคดี


บทคัดย่อ

งานวิจัยกึ่งทดลองที่เก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียน ผ่านการใช้รูปแบบการสอนด้วยห้องเรียนกลับด้านและการสอนแบบอิงงานปฏิบัติและ 2) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของผู้เรียนที่มีต่อประสิทธิผลของการสอนทั้งสองรูปแบบ กลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่เรียนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาต่างประเทศจำนวน 19 คนที่ผู้วิจัยสอนในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2557-2558 เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการสอน 2) มาตรอิงเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับวัดทักษะการคิดขั้นสูงในแต่ละกิจกรรม 2) แบบสอบถามที่สร้างและปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญและ 3) รายงานสะท้อนคิดหลังเรียนของผู้เรียน การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณได้จากการเก็บคะแนนพัฒนาการในช่วงเวลาที่ต่างกันสองช่วง เพื่อนำมาเปรียบเทียบร้อยละของคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ที่เพิ่มขึ้นโดยกำหนดเกณฑ์คะแนนที่พึงประสงค์ไว้ที่ร้อยละ 50 และตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนอย่างน้อยร้อยละ 70 สามารถผ่านเกณฑ์ที่ตั้งไว้ได้และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากรายงานสะท้อนคิดของผู้เรียน

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณพบว่ารูปแบบการสอนด้วยห้องเรียนกลับด้านและการสอนแบบอิงงานปฏิบัติสามารถพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของผู้เรียนส่วนใหญ่ (73.68%) ได้ตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 50 หรือสูงกว่า ส่วนผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากรายงานสะท้อนคิดหลังเรียนพบว่าผู้เรียนเห็นว่าการสอนแบบอิงงานปฏิบัติช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทักษะภาษาทักษะการคิดขั้นสูงและทักษะที่จำเป็นอื่นๆนอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้อภิปรายประเด็นที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนชาวไทยไว้ด้วยเช่นกัน

Abstract

This quasi-experimental study with both quantitative and qualitative data aimed to develop students’ higher order thinking skills (HOTS) through the flipped classroom (TFC) and task-based teaching (TBT), and to explore their perceptions of the effectiveness of the selected approaches. Participants were 19 junior students learning French as a foreign language. Measurement tools are 1) Lesson plan 2) task-specific rubrics elaborated for each kind of HOTS activity; 2) questionnaires developed and revised in the light of experts’ comments; and 3) student Self-Reflection Reports. As quantitative data, learning growth scores were collected over two points of time and were compared using percent change. About 70% of the students were expected to reach a desired growth rate of 50%. The quantitative results revealed that TFC and TBT with repeated measures enabled to develop HOTS of 73.68% of the students (above 70% expected level) at or above a desired growth rate of 50%. The qualitative findings from the student Self-Reflection Report revealed that TBT helped them build language learning skills, HOTS, and other essential skills. Nevertheless, issues with Thai cultural aspects that affect student learning are discussed.

Download in PDF (398.18 KB)

How to cite!

Orprayoon, S. (2561). การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงผ่านการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้าน และการสอนแบบอิงงานปฏิบัติในรายวิชาวรรณคดี. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 12(2), 24-42

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in