วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การใช้โปรแกรม Mentimeter เพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันในชั้นเรียน ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

The Use of Mentimeter to Enhance Student Engagement in Classroom for Undergraduate Teacher Students, Chulalongkorn University


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการใช้โปรแกรม Mentimeter ที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ที่มีต่อการใช้โปรแกรม Mentimeter การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) รูปแบบสลับกลับ (ABAB Reversal Design) กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 4 จำนวน 9 คนที่ลงเรียนวิชา 2747404 การบริหารจัดการและภาวะผู้นำทางการศึกษา ในตอนเรียนที่ 2 ภาคปลาย ปีการศึกษา 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรม Mentimeter และแผนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกพฤติกรรมยึดมั่นผูกพันในชั้นเรียนของนิสิต 2) มาตรวัดความยึดผูกพันในชั้นเรียนของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา (ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา = .831) และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนิสิตเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม Mentimeter วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และ paired-samples t-test.

ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้โปรแกรม Mentimeter ไม่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันในชั้นเรียนของนิสิตโดยรวม แต่ผลจากการสังเกต การอภิปรายกลุ่มย่อย และร่องรอยการอภิปรายในชั้นเรียนของนิสิต พบว่าการใช้โปรแกรมมีส่วนช่วยกระตุ้นให้นิสิตถามคำถามและมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียนมากขึ้น 2) นิสิตส่วนใหญ่เห็นว่าโปรแกรมมีจุดเด่นที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายผ่านสมาร์ทโฟน ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต สะดวก ใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน และโปรแกรมยังช่วยส่งเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน

Abstract

The objectives of this research were to 1) study the effects of using Mentimeter program to enhance student engagement in classroom for undergraduate teacher students and 2) study the students’ feedback regarding the use of Mentimeter in classroom. This study employed a single subject design called ABAB reversal design. The sample of the study were 9 teacher students who enrolled in 2747404 Management and Educational Leadership class in 2nd semester of academic year 2016. The experiment tools were Mentimeter program and lesson plans. The research instruments comprised
1) student engagement behavior evaluation form 2) student engagement in classroom survey (Cronbach's alpha = .831) and 3) survey of students’ feedback regarding the use of Mentimeter. Data analysis comprised descriptive statistics and paired-samples t-test.

The research findings were 1) the use of Mentimeter did not enhance overall student engagement in classroom; however, results from classroom observation, focus group and learning artifacts showed that the use of Mentimeter could stimulate students to raise a question and participate in class discussion 2) 80 percent of students stated that the program’s strengths were its easy access by smartphone & the Internet, convenience, and user-friendly interface and the program also helped encourage active learning climate in the classroom.

Download in PDF (510.18 KB)

How to cite!

ธีรภัทร กุโลภาส (2561). การใช้โปรแกรม Mentimeter เพื่อเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันในชั้นเรียน ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(2), 13-23

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in