วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำปัตตานี

The Local Scientific Lesson for Conservation and Utilizing Biological Diversity in the Pattani Watershed


บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพลุ่มน้ำปัตตานี จุดเน้นของการวิจัย 1) ความร่วมมือระหว่างโรงเรียน มหาวิทยาลัยและชุมชนในท้องถิ่น 2) หาประสิทธิภาพของบทเรียน ตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2 = 80/80 ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนนักศึกษา ครู อาจารย์ ผู้บริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา วิทยาลัยเทคนิคยะลา โรงเรียนสตรียะลา โรงเรียนบ้านตานกาเด็งนักเรียน ครู ผู้บริหาร จากที่สถาบันดังกล่าวและสมาชิกในชุมชนท้องถิ่น ร่วมมือดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบบมีส่วนร่วม (PAR) ถูกนำมาใช้ในการศึกษานี้ สัมภาษณ์การสนทนากลุ่มและการทดสอบถูกนำมาใช้ในการรวบรวมข้อมูล

ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการของบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพลุ่มน้ำปัตตานีสร้างขึ้น โดยความร่วมมือกับชุมชนนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ และผู้บริหารในโรงเรียนมหาวิทยาลัยในท้องถิ่น 2) การใช้บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพลุ่มน้ำปัตตานีสำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้ค่าประสิทธิภาพ 89.07/88.00 ตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2=80/80 และ ประสิทธิภาพของกระบวนการและผลของระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีค่าประสิทธิภาพ 87.20/87.40 ตามเกณฑ์มาตรฐาน E1/E2=80/80 เพื่ออธิบายว่าประสิทธิภาพของกระบวนการและผลที่ได้มีค่าสูงกว่ามาตรฐานเกณฑ์ โดยมีค่าใกล้เคียงกันและต่างกันไม่เกิน 5 แสดงว่าบทเรียนมีคุณภาพ และมีผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับบทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่นระดับดี

Abstract

The objectives of this participatory action research study was to develop the Local Scientific Lessons for Conservation and Utilizing Biological Diversity Pattani Watershed. The focus of the study were 1) the cooperation between school-university and local community. 2) find the effectiveness of the Lessons which the standard criteria of E1/E2 = 80/80. The participants were the researchers, Yala Rajabathat University, Technique Yala College, Satree Yala School, Ban Tangadang school, students, teachers, administrators, local community members. Participatory action research were used in this study. Interview, focus group and testing, were used for collecting data.
The research results revealed that: 1) the process of The Local Scientific Lessons for Conservation and Utilizing Biological Diversity Pattani Watershed construct through school-university-local community collaboration. 2) The used of the Local Scientific Lessons for Conservation and Utilizing Biological Diversity Pattani Watershed for the under graduate education had the efficiency value of 89.07/88.00 which the standard criterion E1/E2=80/80, the effectiveness of process and result were higher than the standard criterion, and the basic education had the efficiency value of 87.20/87.40 which the standard criterion E1/E2=80/80, the effectiveness of process and result were higher than the standard criterion and the value different of E1, E2 not more than 5 that this Local Scientific Lessons had the Quality, and the opinion of students was at the good level.

Download in PDF (333.9 KB)

How to cite!

Vichit Rangpan, Nittaya Rangpan, Dusadee Matchimapiro, Naowarat Treepaiboon, Narunol Thongmak, & Duangporn Nujan. (2560). บทเรียนวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ลุ่มน้ำปัตตานี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(2), 123-132

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in