วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล ในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุและความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมการเตรียมของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

The Effective of Preparation Program for Nursing Professional Licensing Examination Readiness on Adult and Elderly Nursing Subject Comprehensive Test and Nursing Students' Satisfaction on the Preparation Program


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง (Quasi-Experimental Research One group pretest–posttest design) มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าคะแนนเฉลี่ยการสอบความรู้ก่อน และหลังการทบทวนความรู้ หาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบความรู้รวบยอด กับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และการพยาบาลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต รวมทั้งประเมินผลความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลที่เข้าร่วมโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการสอบใบประกอบวิชาชีพ เริ่มดำเนินการวิจัยตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558ถึงเดือนมีนาคม 2559 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมการเตรียมความพร้อมฯ แบบทดสอบความรู้ และแบบทดสอบความรู้รวบยอดวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และการพยาบาลผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้วยสถิติทดสอบที (Paired t-test) หาความสัมพันธ์ระหว่างผลการสอบความรู้รวบยอดกับผลสอบใบประกอบวิชาชีพวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ และการพยาบาลผู้สูงอายุด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนของผลการทดสอบความรู้วิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ หลังการเข้าโปรแกรมฯ มีค่าสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ค่าเฉลี่ยคะแนนของผลการทดสอบความรู้วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ หลังการเข้าโปรแกรมฯ มีค่าสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการทดสอบความรู้หลังการเข้าโปรแกรมฯ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการทดสอบความรู้รวบยอดในวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.286) ส่วนผลการทดสอบความรู้หลังเข้าโปรแกรมฯ ของวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการทดสอบความรู้รวบยอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.124) เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ของผลการสอบความรู้รวบยอดกับผลการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล พบว่าผลทดสอบความรู้รวบยอดของวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r=0.351) แต่ผลการทดสอบความรู้รวบยอดของวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุไม่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=-.072) และเมื่อประเมินความพึงพอใจในการเข้าร่วมการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมการวิจัยในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (mean=4.25, SD=0.61) ผลที่ได้รับจากการเข้าร่วมโปรแกรมฯ ทำให้มีทัศนคติที่ดีต่อการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล ได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ

Abstract

This quasi-experimental, one-group, pretest–posttest research aimed to, first, compare the mean scores of pretest and posttest in adult and elderly nursing subjects and, second, find the correlation between the scores of posttest and comprehensive examination in adult and elderly nursing subjects and the correlation between the scores of comprehensive examination and Nursing Board License Examination in adult and elderly nursing subjects. The last purpose was to evaluate the satisfaction towards the Preparation Program for Nursing Board License Examination in adult and elderly nursing subjects among Suan Dusit University’s nursing students. The study was conducted from August 2015 to March 2016. The sample included 90 fourth-year nursing students from Faculty of Nursing, Suan Dusit University. The instruments used in this study included: 1) Adult and Elderly Nursing Subject Tests, pretest and posttest, 2) Adult and Elderly Nursing Comprehensive Test, and 3) Satisfaction Questionnaire, all of which had been developed by the researcher team. Data were analyzed with frequency, percentage, mean, standard deviation, paired t-test, Pearson’s correlation, and content analysis.
Result Summary showed that: The posttest average scores of adult and elderly nursing subjects were higher than the pretest average scores at the statistically significant (p=0.01). The Pearson’s correlation between the posttest examination scores and comprehensive examination scores in adult nursing was statistically significant (r=0.286, p=0.01). The Pearson’s correlation between posttest examination scores and comprehensive examination scores in elderly nursing was not statistically significant (r=-.124). The Pearson’s correlation between comprehensive examination and nursing license examination in adult nursing was statistically significant. (r=0.351, p=0.01) But the Pearson’s correlation between comprehensive examination scores and Nursing board license examination scores in elderly nursing was not statistically significant (r=-.072). Satisfaction on the Preparation Program for Nursing Board License Examination on comprehensive examination in both adult and elderly nursing subjects received the highest score (mean=4.25, SD=.61). The program was shown to improve the nursing students’ attitude on Nursing Board License Examination and their knowledge on adult and elderly nursing subjects.

Download in PDF (363.04 KB)

How to cite!

อนุรี ชาญธวัชชัย, & มนสภรณ์ วิทูรเมธา. (2560). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล ในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุและความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมการเตรียมของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(2), 92-106

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in