วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนในระดับ มัธยมศึกษา

The Development of Learning Management Innovation to Develop Students’ Thinking Skills in Secondary Level


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา และ 2) เพื่อทดลองใช้และตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้สอน ผู้บริหาร และนักเรียนของโรงเรียนเอกชนที่เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ที่มาจากโรงเรียนขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ จาก 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็นครู จำนวน 60 คน ผู้บริหาร จำนวน 6 คน และนักเรียน จำนวน 1,056 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบวัดความรู้ครูผู้สอนในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิด 2) แบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ของครูเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของครูต่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียน 4) แบบวัดทักษะการคิดของผู้เรียน และ 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้สถิติเชิงบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า
1. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นคู่มือครูที่กล่าวถึงรายละเอียดของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา ที่มีขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 รู้เป้าหมายและกระตุ้นความสนใจ ขั้นที่ 2 สร้างประสบการณ์และนำเสนอผลงาน ขั้นที่ 3 สรุปผลการเรียนรู้ และขั้นที่ 4 สะท้อนการคิดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยเอกสารคู่มือประกอบด้วย แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานของรูปแบบการจัดการเรียนรู้หลักการของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วัตถุประสงค์ของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ กระบวนการและกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้
2. ผลที่ได้จากการนำนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ไปใช้ ในส่วนของผลที่เกิดขึ้นกับครู พบว่า 1) ครูกลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านความรู้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสูงกว่าครูกลุ่มควบคุม โดยครูกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีพัฒนาการด้านความรู้อยู่ในระดับกลางและระดับสูง ส่วนครูกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่มีพัฒนาการ 2) ครูมีพัฒนาการด้านทักษะการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดหลังการใช้สูงกว่าก่อนใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยครูเกือบทุกคนมีพัฒนาด้านทักษะการสอนอยู่ในระดับสูงมาก 3) ครูมีความคิดเห็นต่อนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากในทุกด้าน และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีพัฒนาการด้านทักษะการคิดสูงกว่ากลุ่มควบคุม โดยนักเรียนกลุ่มทดลองส่วนใหญ่มีพัฒนาการด้านทักษะการคิดอยู่ในระดับกลางและระดับสูง ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่มีพัฒนาการหรือมีพัฒนาการในระดับต้น และ 2) นักเรียนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากในทุกด้าน

Abstract

This research and development aims to 1) develop a learning management innovation for constructing thinking skills of secondary school students and 2) implement and examine the quality of the innovation. The samples included 30 teachers, 6 school principals, and 1,056 students selected by purposively sampling from private schools of various sizes including small, middle, and large size in five regions of Thailand; North, South, Northeast, Central, and Bangkok. The data were gathered by a Teaching Thinking Knowledge Test, Classroom Practice Evaluation Form, Questionnaire on Innovation for developing Thinking Skills (teachers’ and students’ version), and Thinking Skill Test for students. Descriptive statistics and content analysis were used to analyze the data.
Key findings are as followed:
1) The learning management innovation is a teacher manual providing details of lerning management models for developing secondary students’ thinking skills. The lerning management models consists of four stages: 1) establish a goal and interest 2) construct learning experience and present 3) conclude learning outcomes and 4) reflect for thinking and evaluate learning outcomes. The manual mentioned about basic concepts and theories of learning management models, principles of learning management models, aims of learning management models, processes and learning management activities, exemplars of thinking lesson plan in various subjects, and measurement and assessment of thinking.
2) The result of the implementation of the innovation, it found that 1) the teachers in the experiment group were more competent in teaching thinking knowledge compared to those of the control group. The teachers in the experiment group had moderate to high development growth while the majority of control group had no development growth in their teaching competent. 2) After participating in the project, most teachers generally improved their competent on teaching thinking. 3) The teachers were highly satisfied with the learning innovation on all aspects. Regarding students’ learning, 1) the students from the experiment group had higher level of thinking ability than their control group counterpart. Their thinking was improved at moderate to high level while those of students in the control group showed no or slight improvement in their thinking ability. 2) The majority of students were highly satisfied with the learning management on all aspects.

Download in PDF (413.33 KB)

How to cite!

พิกุล เอกวรางกูร, เอกรัตน์ ทานาค, & ชานนท์ จันทรา. (2560). การพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดของผู้เรียนในระดับ มัธยมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(2), 34-50

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in