วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การประเมินโครงการอบรม “เศรษฐีน้อยพอเพียง” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) โรงเรียนวัดเวฬุวัน ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี

Evaluation of “Kid Money” for the Students in Primary Education Level (Grade 1-3) of Wat Weluwan School, Bang Pood, Pathum Thani


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของโครงการอบรม “เศรษฐีน้อยพอเพียง” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1–3) โรงเรียนวัดเวฬุวันตำบลบางพูดอำเภอเมืองจังหวัดปทุมธานีโดยมีขอบเขตในการประเมิน 4
ด้านคือด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิตในการวิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้เข้าอบรมในโครงการบริการ
วิชาการสู่สังคมจำนวน 81 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังการให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงการออมและการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและ 2) แบบประเมินผลโครงการการวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย
และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานข้อค้นพบจากการวิจัยมีดังนี้คือ 1) ผลการทดสอบความรู้ก่อน-หลังให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียงการออมและการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายพบว่าผลการทดสอบความรู้ผู้เข้าอบรมหลังจากเข้ารับการอบรม
ความรู้มีการพัฒนาความรู้มากขึ้นมีความเข้าใจในเรื่องการออมตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเห็นประโยชน์ของการทำ
บัญชีรายรับ-รายจ่าย 2) ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมด้านบริบทด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการและด้านผลผลิต
ทุกด้านอยู่ในระดับมากและมากที่สุด

Abstract

The research aimed to evaluate the project of “Kid Money” for primary students (Grade 1-3) of
WatWeluwan School, Bang Pood, PathumThani. The populations in the study were 81 students of WatWeluwan School. The research instruments were 1) Pre-Post test about sufficiency economy savings and personal income - expenses and 2) Project Evaluation form. Data were analyzed by mean and standard deviation.
The research findings were as follows: 1) The results of Pre-Post test about sufficiency economy savings and
personal income - expenses hadsignificantly more knowledge and understanding of the savings based on the sufficiency economy and perceived the benefits of personal income – expenses 2) The project evaluation
results were found that mean of the context, input, process and output had statistically high and highest
scores.

Download in PDF (353.28 KB)

How to cite!

สัณฐิติ ยรรยงเมธ (2559). การประเมินโครงการอบรม “เศรษฐีน้อยพอเพียง” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3) โรงเรียนวัดเวฬุวัน ตำบลบางพูด อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 10(2), 73-84

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in