ผลของการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ว 41101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน : สารและสมบัติของสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยสอดแทรกกระบวนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์
The Effects of Science Project Integration into Basic Science Course (S 41101): Properties of Substances on Achievement in analysis thinking synthesis thinking and creative thinking of Mathayom Suksa four students
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ว 41101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน : สารและสมบัติของสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยสอดแทรกกระบวนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2549 โรงเรียนบางมดวิทยา "สีสุกหวาดจวน อุปถัมภ์" จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องหนึ่งจัดการเรียนการสอนโดยสอดแทรกกระบวนการทำโครงงาน วิทยาศาสตร์ ส่วนอีกห้องหนึ่งจัดการเรียนการสอนตามคู่มือครู ผลการวิจัยพบว่า
1. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยสอดแทรกกระบวนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีผลสัมฤทธ์ิ ทางการเรียนรายวิชา ว 41101 สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
2. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยสอดแทรกกระบวนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์และคะแนนความสามารถในการคิดสังเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 แต่มีคะแนนความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนกับก่อนเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูมีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการคิดสังเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์หลังเรียนกับก่อนเรียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่ได้รับการสอนโดยสอดแทรกกระบวนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และคะแนนความสามารถในการคิดสังเคราะห์เพิ่มขึ้นสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามคู่มือครูอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 แต่คะแนนความคิดสร้างสรรค์ที่เพิ่มขึ้นของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Abstract
The purpose of this study was to study the effects of Science Project Integration into Basic Science Course(S 41101) : Properties of Substances on Achievement in learning science Analysis thinking, Synthesis thinking and Creative thinking of Mathayom Suksa four students. Two groups of students at Bangmodwitthaya School were selected as samples for this study. The criterion for sample selection was that there was no significant differences in their entrance science scores. The experimental group was supplemented with science project as learning activity. Science projects were designed so as to be related to the learning content, whereas the control group was taught by traditional method. The results were as the followings:
1. The science learning achievement of the first experimental group was significantly higher than the second experimental group at the. 05 level.
2. The analysis thinking scores, synthesis thinking scores, except creative thinking scores of the first experimental group after the treatment, were significantly higher than before the treatment at the.05 level.
3. There was no significant difference in term of analysis thinking scores, synthesis thinking scores and creative thinking scores of the second experimental group between two learning methods at the.05 level.
4. The analysis thinking scores, synthesis thinking scores, except creative thinking scores of the first experimental group were significantly higher than the second experimental group at the .05 level.
How to cite!
พรพิมล ชาญชัยเชาว์วิวัฒน์ (2550). ผลของการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ว 41101 วิทยาศาสตร์พื้นฐาน : สารและสมบัติของสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยสอดแทรกกระบวนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ และความคิดสร้างสรรค์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 1(2), 36-46
Indexed in