วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกลศาสตร์ของไหล

The Development of Computer Assisted Instruction for Fluid Mechanics


บทคัดย่อ

ในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เรื่อง กลศาสตร์ ของไหล และหาประสิทธิภาพ ประสิทธิผลของ CAI รวมทั้งประเมินความพึงพอใจที่มีต่อ CAI กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์และนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 : กลศาสตร์ ความร้อน ของไหล ในภาคเรียนที่ 1/2549 จำนวน 43 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกลศาสตร์ของไหล พัฒนาโดยใช้โปรแกรม Dreamweaver, Java Script, Flash, Java Applet, Word, Visio, Sound Forge แบ่งเป็น 3 หน่วยการเรียน แต่ละหน่วยการเรียนประกอบด้วย แบบทดสอบก่อนเรียน เนื้อหา แบบทดสอบหลังเรียน และแบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อบทเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test

ผลการวิจับพบว่า

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกลศาสตร์ของไหล ประกอบด้วย 3 หน่วยการเรียนมีค่าประสิทธิภาพ 80/73 77/73 และ 62/73 ตามลำดับ ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 และค่าประสิทธิผลเท่ากับ 0.6 เมื่อจำแนกตามคณะ พบว่า คณะเภสัชศาสตร์มีค่าประสิทธิภาพ 87/81 83/81 และ 73/81ตามลำดับ และค่าประสิทธิผล เท่ากับ 0.7 คณะเทคนิคการแพทย์ มีค่าประสิทธิภาพ 71/62 68/62 และ 47/62 ตามลำดับ และค่าประสิทธิผล เท่ากับ 0.4

2. ความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกลศาสตร์ของไหลใน 3 ด้าน คือ ด้านปุ่มนำทางและการควบคุม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.459 ด้านเนื้อหาวิชามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.544 และ ด้านปฏิสัมพันธ์และการประเมินผลมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.460 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี

3. เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องกลศาสตร์ของไหลของนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์ พบว่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .05)

4. ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่างต้องการให้จัดทำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ครบทั้งบทเรียนของรายวิชาฟิสิกส์รวมถึงรายวิชาทั้งหมดที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยรังสิต นอกจากนี้ ยังต้องการแบบฝึกหัด และตัวอย่างจำนวนมาก

Abstract

The purposes of this research were to develop computer assisted instruction of Fluid Mechanics course, to study the efficiency and the effectiveness of the CAI, and also to carry out the satisfactory evaluation of the CAI by the students. The sample group was 43 students from the Faculty of Pharmacy and the Faculty of Medical Technology who registered in General Physic I (Mechanics, Heat and Fluid) in the first semester of 2006. The CAI was developed by using Dreamweaver, Java Script, Flash, Java Applet, Microsoft Word, Visio and Sound Forge. The CAI was composed of 3 units which included pre-test, content, post-test and satisfactory evaluation form. The percentage, mean, standard deviation and t-test were used for statistical study.

The results indicated that:

1) The efficiency figures of 3 lesson units of the CAI were at 80/73, 77/73 and 62/73, respectively. They were lower than the standard value fixed at 80/80 while the effectiveness value was equal to 0.6. If we compare between the two faculties, the effieciency figures of the Faculty of Pharmacy were at 87/81, 83/81 and 73/81, respectively, and the effectiveness value was at 0.7. And the efficiency figures of the Faculty of Medical Technology were at 71/62, 68/62 and 47/62, respectively, and the effectiveness value was at 0.4.

2) The satisfactory evaluation form was divided in three parts including Arrow Point and Unit Control part, Contents part and Reaction and Evaluation part. The findings showed that mean and standard deviation of the first part were at 4.12 and 0.459, respectively. For the Content part, mean and standard deviation were at 4.07 and 0.544, respectively. And for the last part, mean and standard deviation ranked lower with 3.7 and 0.46, respectively. All figures found were at a good level.

3) The findings also showed that there was no significant difference (p=.05) between the views on the CAI of the students from the two faculties.

4) The students of the sample group also expected to see the CAI of the whole course, and of all other courses in Rangsit University. They also asked for a number of examples and exercises.

Download in PDF (203.65 KB)

How to cite!

กาญจนา จันทร์ประเสริฐ (2550). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องกลศาสตร์ของไหล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 1(2), 15-23

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in