วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรม การปฏิบัติงานทางสูติกรรมของนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน

The Relationships between Perceived Self-efficacy, Self-esteem and Obstetrics Practice Behavior of Nursing Students in Private Higher Education Institutions


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรมของนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ระดับปริญญาตรี หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ที่ฝึกปฏิบัติงานทางสูติกรรมในแผนกฝากครรภ์ ห้องคลอดและแผนกหลังคลอด ปีการศึกษา 2548 โดยการสุ่มจำนวน 253 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลลักษณะส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะของตนเองโดยทั่วไป 3) แบบประเมินการเห็นคุณค่าในตนเอง และ 4) แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS/PC+ หาค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

การวิจัยปรากฏผลดังนี้

1. การรับรู้สมรรถนะของตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวมและรายด้าน คือ ด้านตนเองด้านครอบครัว ด้านสถาบันการศึกษาและด้านกลุ่มเพื่อน มีสหสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรมของนักศึกษาพยาบาลในแผนกฝากครรภ์ ห้องคลอด แผนกหลังคลอด และโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01

2. การรับรู้สมรรถนะของตนเอง และการเห็นคุณค่าในตนเองด้านสถาบันการศึกษา และด้านกลุ่มเพื่อน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรมแผนกฝากครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรมแผนกฝากครรภ์ได้ร้อยละ 2.6, 1.4 และ 1.2 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่าการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม และการรับรู้สมรรถนะของตนเอง สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรมในห้องคลอด แผนกหลังคลอด และโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม อธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรมในห้องคลอดแผนกหลังคลอดและโดยรวม อธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรมในห้องคลอด แผนกหลังคลอดและโดยรวม ได้ร้อยละ 16, 19.3 และ20.4 ตามลำดับ ส่วนการรับรู้สมรรถนะของตนเอง อธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการปฏิบัติงานทางสูติกรรมได้ร้อยละ 2.9, 2.8 และ 3.2 ตามลำดับ

Abstract

The purposes of this study were to examine the relationships between perceived selfefficacy,self-esteem and obstetrics practice behaviors of nursing students in private institutions. The random samples consisted of 253 nursing students in the third and fourth years of the Bachelor's of Nursing Science degree in private institutions in Bangkok and outer suburbs. They were practicing in antenatal clinic, labour room and postpartum ward in academic year 2005. The research tools were questionnaires consisting of four main parts: 1) Personal data questionnaire 2) General perceived self-efficacy scale 3) Self-esteem scale and 4) Obstetrics practice behavior test. The data were analyzed by SPSS/PC+ program to analyse frequency, percentage, means, standard deviation, Pearson Product Moment Correlation Coefficient, and stepwise multiple regression.

The results of this study indicated that : 

1. There were positive significant relationships between perceived self-efficacy, total score of self-esteem and each part such as individual, family, academic institute, friends and obstetrics practice behaviors of nursing students in antenatal clinic, labour room, postpartum ward and overall aspects (p< .01).

2. Stepwise multiple regression analyses were performed to determine the perceived self-efficacy, self-esteem in the academic institute, and friends could predict the variance of the obstetrics practice behavior in antenatal clinic with statistical significance (p < .01). They could explain 2.6%, 1.4% and 1.2% respectively of the variance of the obstetrics practice behaviors. In addition, it was found that the total score of self-esteem and perceived self-efficacy could predict the variance of the obstetrics practice behaviors in labour room, postpartum ward and overall aspects with statistical significance (p<.01). The total score of self-esteem could explain 16%, 19.3% and 20.4% of the variance of the obstetrics practice behaviors in labour room, postpartum ward and overall aspects. The perceived self-efficacy, however, could explain the obstetrics practice behavior at 2.9%, 2.8% and 3.2%, respectively.

Download in PDF (166.49 KB)

How to cite!

มาลีวัล เลิศสาครศิริ, & สุดารัตน์ สุวารี. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้สมรรถนะของตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองและพฤติกรรม การปฏิบัติงานทางสูติกรรมของนักศึกษาพยาบาล สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 1(1), 16-27

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in