วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษารูปแบบของอุปกรณ์บังแดดและช่องแสงทางด้านข้าง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แสงสว่างธรรมชาติภายในห้องเรียน: กรณีศึกษาอาคารเรียนคณะวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา

The Study Of Shading Devices and Side Lighting to Enhance the Use of Daylighting in a Classroom: Case Study Faculty of Architecture Building Rajamangala University of Technology I-Sarn Northeastern Campus Nakonratchasima


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบอุปกรณ์บังแดดและช่องแสงทางด้านข้างที่มีความเหมาะสมกับลักษณะของห้องเรียนของอาคารเรียนคณะวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แสงสว่างจากธรรมชาติภายในห้องเรียนโดยคำนึงถึงค่าระดับความส่องสว่าง ค่าความสม่ำเสมอของความส่องสว่าง และสภาวะแสงบาดตา (Glare)ขอบเขตของการวิจัยในครั้งนี้ ทำการวิจัยห้องเรียนคณะวิชาสถาปัตยกรรม อาคารเรียน คณะวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ซึ่งมีขนาด 9.00 x 9.00 ม. สูง 3.20 ม. มีทางเดินด้านหน้า (Single Corridor) โดยมีวิธีการวิจัย ดังนี้คือ

1. ศึกษารูปแบบอุปกรณ์บังแดด เพื่อเลือกชนิดของรูปแบบที่เหมาะสมต่องานวิจัย
2. ศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถจำลองสภาพแสงธรรมชาติภายในอาคาร ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ใช้โปรแกรม Desktop Radiance 2.0 ทำการเปรียบเทียบค่าความส่องสว่างที่ได้จากการคำนวณของ โปรแกรมคอมพิวเตอร์กับผลที่วัดได้จากหุ่นจำลองที่วางไว้ใต้สภาพท้องฟ้าจริง เพื่อศึกษาความถูกต้องแม่นยำของโปรแกรม
3. ทำการทดลองโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองสภาพแสงสว่างธรรมชาติภายในห้องเรียนที่มีรูปแบบของช่องแสงทางด้านข้าง รูปแบบอุปกรณ์บังแดด ทิศทางของห้องเรียน และช่วงเวลาที่ทำการทดลองที่แตกต่างกัน
4. วิเคราะห์ผลการทดลองเพื่อหารูปแบบของช่องแสงทางด้านข้าง และอุปกรณ์บังแดดที่เหมาะสม สำหรับทิศทางการวางห้องเรียน โดยคำนึงถึงปริมาณแสงที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งานค่าความสม่ำเสมอของความส่องสว่าง และสภาวะแสงบาดตา (Glare) ผลของการศึกษาวิจัยพบว่าห้องเรียนชั้นที่ 3 ของอาคารเรียนที่ทำการวิจัยของคณะวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา ที่มีช่องแสงทางด้านข้างอยู่ทางทิศตะวันออกประกอบกับอุปกรณ์บังแดดในแนวตั้ง ให้แสงธรรมชาติที่เข้ามาภายในห้องเรียน มีความเหมาะสม และมีประสิทธิภาพดีที่สุด

Abstract

The purpose of this research was to study types of side lighting and types of shadingdevices with side lighting which were suitable for a classroom of Faculty of Architecture Building Rajamangala University of Technology I-sarn Northeastern Campus Nakonratchasima in order to enhance the use of day lighting in a classroom by considering I luminance level, uniformity of illumination, and glare condition. The scope of this research was to study only classrooms of Faculty of Architecture Building Rajamangala University of Technology I-sarn. Each test classroom was 9.00 m. wide by 9.00 m. deep by 3.20 m. high with single corridor. The methods of the study are as follows.

1. Study types of shading devices in order to select the appropriate types for the research.
2. Study a computer program which can simulate natural lighting in buildings. The computer program used for this study is Desktop Radiance 2.0. The I luminance values inside a classroom calculated from the computer program were compared with the I luminance values measured from models placed under the real sky in order to determine the accuracy of the computer program.
3. Conduct experiments by using the computer program to simulate the natural lighting in the classrooms which have different side lighting, shading devices, orientations, and experiment time.
4. Analyze the experiment results in order to select the suitable types of side lighting and shading devices. The factors considered are the appropriate I luminance on working areas, uniformity of illumination, and glare condition. The results from this research show that a third floor classroom of Faculty of Architecture Building Rajamangala University of Technology I-sarn Northeastern Campus Nakonratchasima which has a side lighting on the East with a vertical shading device give natural lighting into a classroom is suitable and efficiency.

Download in PDF (400.92 KB)

How to cite!

ฉันทมน โพธิพิทักษ์ (2550). การศึกษารูปแบบของอุปกรณ์บังแดดและช่องแสงทางด้านข้าง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้แสงสว่างธรรมชาติภายในห้องเรียน: กรณีศึกษาอาคารเรียนคณะวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 1(1), 4-15

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in