วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Development of an Instructional Model Based on Socioscientific Issues Approach to Promote Scientific Competencies for Upper Secondary School Students


วันที่ส่งบทความ: 14 ต.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 2 ต.ค. 2566

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2568


บทคัดย่อ

        การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและประเมินความสอดคล้องและเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการศึกษาลักษณะของประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ ผู้ให้ข้อมูล คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยและครูผู้สอนวิทยาศาสตร์จำนวน 6 ท่าน โดยใช้การสนทนากลุ่ม (Focus group) เกี่ยวกับเกณฑ์การคัดเลือกประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และการคัดเลือกประเด็นทางสังคมที่จะนำไปใช้ในรูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์และการปรับปรุงแก้ไข ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนและแบบประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนการสอน ทำการวิเคราะห์ผลการประเมินความสอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
        ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย หลักการของรูปแบบ, วัตถุประสงค์ของรูปแบบ, ขั้นตอนของรูปแบบจำนวน 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 เสนอประเด็นทางสังคม ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ประเด็นปัญหา ขั้นที่ 3 เสนอหลักฐานและให้เหตุผล ขั้นที่ 4 ลงข้อสรุป ขั้นที่ 5 ขยายความรู้, บทบาทผู้เรียนและบทบาทผู้สอน และการวัดและประเมินผลรูปแบบ สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการคัดเลือกประเด็นทางสังคมมาใช้ในรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ 1) ประเด็นที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน เป็นกระแสในโลกโซเชียลหรือปรากฏในสื่อต่าง ๆ, 2) ประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ เกี่ยวข้องกับชีวิตจริงของนักเรียน อาจส่งผลกระทบหรือมีความสัมพันธ์กับบริบทในการใช้ชีวิตประจำวันของนักเรียน มีความสัมพันธ์กับชีวิตและสิ่งแวดล้อม, 3) ประเด็นที่มีมุมมองที่หลากหลายและมีมิติทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน สามารถใช้ความรู้และข้อมูลทางวิทยาศาสตร์อธิบายหรือมีส่วนร่วมในการตัดสินใจได้ และ 4) ประเด็นที่มีคำตอบได้หลายคำตอบหรือไม่มีคำตอบที่แน่นอน สำหรับผลการประเมินความสอดคล้องและความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนการสอนและแผนการจัดการเรียนรู้ พบว่า มีความสอดคล้อง เหมาะสม สามารถนำไปใช้ได้ ผลการวิจัยจึงสรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้จัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายได้
 

Abstract

      The objective of this research was to develop an instructional model based on socioscientific issues approach to promote scientific competencies for upper secondary school students. Furthermore, assess the compatibility and suitability of the developed instructional model. The research is conducted in two phases. In phase 1, the study involves gathering fundamental data to develop an instructional model. It also entails examining the characteristics of socioscientific issues. The sample consists of 6 participants, including university professors and science teachers, who participate in focus group discussions regarding the criteria for selecting socioscientific issues and selecting social issues for implementation in an instructional model. In phase 2, the research focuses on the development of an instructional model based on socioscientific issues approach, along with necessary improvements.The sample consists of 5 experts. Tools utilized in this phase include the assessment of compatibility and suitability of the instructional model, as well as the assessment of the compatibility and suitability of the lesson plan in the instructional model.This analysis will involve computing the Index of Item-Objective Congruence (IOC), while qualitative data is analyzed through content analysis.
       The research results show that the developed instructional model consists of the principals, the objective of model and five steps are Step1: Presenting the social issue, Step2: Analyzing the problem, Step3: Providing evidence and reasoning, Step4: Making conclusions. and Step5: Expanding knowledge. Including the roles of both learners and instructors, as well as the assessment in the developed instructional model. The identified criteria for selecting socioscientific issues include: 1) current issues that are trending in the social world or appear in various media., 2) social issues that are relevant to students' real-life situations, which may have an impact on or a connection to their daily lives and the environment., 3) issues that have diverse perspectives and clear scientific dimensions, enabling the use of scientific knowledge and data to explain or be involved in decision-making., 4) issues that may have multiple answers or no definite answer. The evaluation of the compatibility and suitability of the developed instructional model and lesson plan that are in alignment and suitable. It can effectively promote the scientific competencies of upper secondary school students.
 

Download in PDF (436.67 KB)

How to cite!

อาภาภรณ์ ปานมี, อัมพร ม้าคนอง, & วิชัย เสวกงาม. (2568). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการใช้ประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 202-217

References

ทิศนา แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2551). การเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวคิด Socioscientific. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2(3), 99-105 

พิมพันธ์ เดชะคุปต์, และพเยาว์ ยินดีสุข. (2547). วิธีวิทยาการสอนวิทยาศาสตร์ทั่วไป. พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคมแห่งศตวรรษที่ 21. บริษัท เนว่าเอ็ด ดูเคชั่น จำกัด.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2561). ผลการประเมิน PISA 2015 การอ่าน คณิตศาสตร์ และ วิทยาศาสตร์ ความเป็นเลิศและความเท่าเทียมทางการศึกษา. 

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2563) .นิยามความฉลาดรู้ด้านวิทยาศาสตร์ (Scientific Literacy).สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2563, จาก https://pisathailand.ipst.ac.th/about -pisa/scientific-literacy/

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. 

อรุณวดี ทองบุญ. (2558). วารสารการจัดการความรู้ภายในองค์กร ประจำปีการศึกษา 2558. 

OECD (2019), PISA 2018 Science Framework: PISA 2018 Assessment and Analytical Framework,OECD Publishing, Paris.

Ratcliffe, M., & M. Grace. (2003). Science Education for Citizenship: Teaching Socio-Scientific Issues. Open University Press.

Toulmin, S. (2003). The Uses of Argument. Cambridge, Cambridge University Press.

Zeidler, D. L., & Nichols, B. H. (2009). Socioscientific Issues: Theory and Practices. Journal of mentary Science Education, 21(2), 49-58.
 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in