การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ด้วยต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อม
Development of Per-service Science Teachers’ Teaching Skills through Active Learning Modules on Environment
วันที่ส่งบทความ: 19 มิ.ย. 2566
วันที่ตอบรับ: 2 ต.ค. 2566
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2568
บทคัดย่อ
การเตรียมนิสิตครูให้สามารถจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหนึ่งในความรับผิดชอบหลักของสถาบันผลิตครู อย่างไรก็ตามงานวิจัยที่ผ่านมาชี้ว่าหลักสูตรผลิตครูยังไม่ประสบความสำเร็จมากนักกับการเตรียมนิสิตครูให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ด้วยเหตุนี้งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ ด้วยต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ศึกษาคือนิสิตครูวิทยาศาสตร์จำนวน 6 คนที่ลงเรียนรายวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา ของมหาวิทยาลัยรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลจากแผนการจัดการเรียนรู้ของนิสิต การสังเกตการสอนของนิสิตในห้องเรียน และประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนของนิสิตด้วยแบบประเมินทักษะการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า หลังเรียนด้วยต้นแบบการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อม นิสิตครูทุกคนมีคะแนนทักษะการจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ทั้งการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ และการปฏิบัติการสอนจริงในโรงเรียน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ร้อยละ 70 โดยมีคะแนนสูงในหลายรายการประเมิน ได้แก่ ความถูกต้องของแนวคิดหลัก ความถูกต้องในการเขียนจุดประสงค์การเรียนรู้ วิธีสอนเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริงและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ใช้ระดับเสียงและน้ำเสียงได้เหมาะสม สร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และใช้สื่อการเรียนรู้ได้เหมาะสมกับบริบท ส่วนรายการประเมินที่มีคะแนนต่ำ คือ ความสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด และการบริหารจัดการชั้นเรียน
Abstract
Preparing pre-service teachers to effectively teaching environment is one of the main responsibilities of teacher preparation institutes. However, literature suggests that teacher preparation programs have not been very successful in preparing pre-service teachers with environmental education. For this reason, the objective of this study is to develop the teaching skills of pre-service science teachers by using environmental active learning modules. The participants consisted of six pre-service science teachers who enrolled in the environmental education course at a public university in Bangkok. Data were obtained from the pre-service teacher lesson plans, classroom observation of the future teachers’ teachings, and assessment of the participants’ lesson plans and teaching quality by using the teaching skills evaluation forms. The results showed that after learning with the active learning modules on environment, all pre-service teachers had scores on teaching skills in the environment; both the design of the lesson plan and the actual teaching practice in school exceeded the assessment cut-off criteria at 70 percent. The participants gained high scores on several items, including ‘the accuracy of key concepts’, ‘the accuracy in writing learning objectives’, ‘the teaching method emphasizes the learners’ ability to be hands-on and construct their own knowledge’, ‘the appropriate volume and tone’, ‘the creation of a classroom atmosphere that promotes learners’ learning', and ‘the use of context-appropriate instructional learning materials’. However, low-scoring assessment items were aligned with learning standards and indicators, and classroom management.
Keywords
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ; ทักษะการจัดการเรียนรู้ ; นิสิตครูวิทยาศาสตร์ ; สิ่งแวดล้อมศึกษา; Active learning; Teaching skill; Pre-service science teacher; Environmental education
How to cite!
จีระวรรณ เกษสิงห์, พงศ์ประพันธ์ พงษ์โสภณ, ชาตรี ฝ่ายคำตา, บุญเสฐียร บุญสูง, & ต้องตา สมใจเพ็ง. (2568). การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมของนิสิตครูวิทยาศาสตร์ด้วยต้นแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกด้านสิ่งแวดล้อม. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 168-185
References
คะเณยะ อ่อนนาง. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการจัดการเรียนรู้ และเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครู. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 5(2), 15-24.
จีระวรรณ เกษสิงห์. (2558). เจตคติและพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของนิสิตครูวิทยาศาสตร์. วิทยาสารเกษตรศาสตร์ (สาขาสังคมศาสตร์), 36(2), 297-307.
จีระวรรณ เกษสิงห์. (2559). รายวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อพัฒนาเจตคติและพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของนักศึกษาครูวิทยาศาสตร์. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 22(2), 213-252.
เดอะสแตนดาร์ด. (2566, 7 มิถุนายน). ไฟป่าแคนาดาทำฝุ่นพิษลามในอเมริกาเหนือ กระทบสุขภาพคนนับล้าน. https://thestandard.co/canada-wildfires-bad-air-quality/
ธัญพร ชื่นกลิ่น. (2553). การพัฒนารูปแบบการโค้ช เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาล ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข
(ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ผู้จัดการออนไลน์. (2566, 7 มกราคม). ยุโรปอากาศอุ่นหน้าหนาว ! สัญญาณโลกเผชิญสภาพอากาศสุดขั้ว ปี 2023. https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9660000001777
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และ พเยาว์ ยินดีสุข. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พีพีทีวีออนไลน์. (2566, 6 มิถุนายน). แคนาดาเผชิญกับไฟป่าครั้งเลวร้ายสุด จากความแห้งแล้ง. https://www.pptvhd36.com/news/ต่างประเทศ/198003
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2559). การวิจัยและพัฒนาการศึกษาไทย. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 8(2), 1-18.
ศูนย์ปฏิบัติการฝึกประสบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์. (2562). คู่มือ 01150465 การฝึกปฏิบัติวิชาชีพในสถานศึกษา IV: การปฏิบัติงานในหน้าที่ครู. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สปริงนิวส์. (2566, 9 มกราคม). ออสเตรเลีย เจอน้ำท่วมหนักในรอบ 100 ปี จากพายุหมุนไซโคลนเขตร้อนเอลลี. https://www.springnews.co.th/keep-the-world/834148
สำนักงานคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. กรุงเทพฯ: บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
อาทิตยา ขาวพราย และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2563). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ.
วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 22(3), 308-323.
อาทิตยา ขาวพราย. (2561). การพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดการจัดการเรียนการสอนตามสภาพจริง เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏ (ดุษฎีนิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต).
คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Dodl, N. R. (1973). Selecting competency outcomes for teacher education. Journal of Teacher Education, 24(3), 194–199.
Edwards, S. (2015). Active learning in the middle grades. Middle School Journal, May 2015, 26-32.
Gifkins, J. (2015, 8 October). What is ‘active learning’ and why is it important?. https://www.e-ir.info/2015/10/08/what-is-active-learning-and-why-is-it-important/
Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC). (2021). Summary for policymakers. In Climate change 2021: The physical science basis. contribution of working group I to the sixth assessment report
of the intergovernmental panel on climate change. IPCC.
Ketsing, J., Inoue, N., & Buczynski, S. (2020). Enhancing pre-service teachers’ reflective quality on inquiry-based teaching through a community of practice. Science Education International, 31(4), 367-378.
Larrivee, B. (2008). Meeting the challenge of preparing reflective practitioners. The New Educator, 4(2), 87-106.
Liu, S. Y., Yeh, S. C., Liang, S. W., Fang, W. T., & Tsai, H. M. (2015). A national investigation of teachers’ environmental literacy as a reference for promoting environmental education in Taiwan.
Journal of Environmental Education, 46(2), 114-132.
Lotter, C. R., & Miller, C. (2017). Improving inquiry teaching through reflection on practice. Research in Science Education, 47, 913-942.
Saribas, D., Kucuk, Z. D., & Ertepinar, H. (2017). Implementation of an environmental education course to improve pre-service elementary teachers’ environmental literacy and self-efficacy beliefs.
International Research in Geographical and Environmental Education, 26(4), 311-326.
UNESCO. (2015). Transforming our world: The 2030 agenda for sustainable development. https://sdgs.un.org/2030agenda
World Commission on Environment and Development. (1987). Report of the world commission on environment and development: Our common future. Oxford University Press.
Yavetz, B. Goldman, D. & Pe’er, S. (2009). Environmental literacy of pre-service teachers in Israel: A comparison between students at the onset and end of their studies. Environmental Education Research, 15(4), 393-415.
Zembal-Saul, C., Blumenfeld, P., & Krajcik, J. (2000). Influence of guided cycles of planning, teaching, and reflection on prospective elementary teachers’ science content representations.
Journal of Research in Science Teaching, 37(4), 318-339.
Indexed in