การเรียนการสอนแบบเรียนรู้ด้วยวิธีการให้เป็นผู้สอน: กรณีศึกษารายวิชา TRM 225 งานมัคคุเทศก์ และ TRM 383 การนำชาวต่างชาติเที่ยวในประเทศไทย
Learning and Teaching by the Usage of learning-by-teaching method: Case studies: TRM 225 Tour Guiding and TRM 383 Inbound Tour Conducting
วันที่ส่งบทความ: 22 ม.ค. 2567
วันที่ตอบรับ: 11 มี.ค. 2567
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2568
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ด้วยการให้เป็นผู้สอนในรายวิชา TRM 225 และ TRM 383 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนวัดรังสิตด้านบุคลิกภาพ การต้อนรับ การนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวของนักเรียนและทักษะการใช้ภาษา 3) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความพึงพอใจของนักเรียนและครูโรงเรียนวัดรังสิต ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยวิธีการได้รับการสอนจากนักศึกษา 4) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษาในการเรียนรู้ด้วยวิธีการให้เป็นผู้สอน และ 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษากลุ่มที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการเป็นผู้สอน และกลุ่มที่ใช้การเรียนภาคทฤษฎี ทั้งก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 35 คน นักเรียนโรงเรียนวัดรังสิต จำนวน 38 คนและครูโรงเรียนวัดรังสิต จำนวน 4 คน รูปแบบการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ด้วยวิธีการให้เป็นผู้สอนที่พัฒนาในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การสอนกระบวนการทำงาน ขั้นที่ 2 การให้ข้อมูล 4 ด้านคือ ด้านบุคลิกภาพ ด้านการต้อนรับ ด้านการนำเสนอแหล่งท่องเที่ยว และด้านทักษะการใช้ภาษา ขั้นที่ 3 การนำความรู้ที่ได้จากการเรียนมาประยุกต์ใช้ และขั้นที่ 4 การส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยวิธีให้เป็นผู้สอน ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความสามารถผู้ร่วมโครงการอบรมยุวอาสาพาเที่ยววัดรังสิตภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมทั้ง 4 ด้าน ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่ลงทะเบียนรายวิชา TRM 225 และ TRM 383 หลังทำกิจกรรมรูปแบบการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ด้วยวิธีการให้เป็นผู้สอนสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม และความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างร่วมโครงการอบรมยุวอาสาพาเที่ยววัดรังสิตอยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
This research aimed 1) to develop the teaching pattern by using learning by teaching method in TRM 225 and TRM 383 2) to compare the learning outcome of the students of Wat Rangsit school: personality, greeting, present the tourist attractions and the skill of English language 3) to compare the scores of satisfaction of students and teachers of Wat Rangsit school before and after the teaching by students of Rangsit university 4) to evaluate the knowledge outcome of students of Rangsit university used the learning by teaching method and 5) to compare the outcomes of the knowledge of the group of students used learning by teaching method and group of students studied only in the before and after the knowledge activities. The sampling used were 35 students of Rangsit University, 38 students of Wat Rangsit School, 4 teachers of Wat Rangsit School. The learning and teaching by the usage of learning-by-teaching method developed in this research composed of 4 stages: stage 1 teaching the process of working, stage 2 giving the 4 aspects: personalities, greeting, tourist attractions presentation, and the language skill, stage 3 the application of knowledge to be used, and stage 4 supporting learning-by-teaching method. The comparison of the average score of the abilities of the volunteer youth guide of Wat Rangsit project participation both Thai and English after the training were higher than before the training in 4 aspects. The comparison of the average score achievement learning of the samplings of TRM 225 and TRM 383 students after the learning-by-teaching method activity was higher than before the activities. And the satisfaction of the samplings participated of the project were in the highest level.
Keywords
วิชางานมัคคุเทศก์ ; วิชาการนำชาวต่างชาติเที่ยวในประเทศไทย ; การบูรณาการความรู้; การเรียนการสอนด้วยวิธีการให้เป็นผู้สอน; Tour Guiding; Inbound Tour Conducting; Knowledge Integration; Learning by teaching
How to cite!
นพปฎล ธาระวานิช, & พัฒน์ธีรา พันธราธร. (2568). การเรียนการสอนแบบเรียนรู้ด้วยวิธีการให้เป็นผู้สอน: กรณีศึกษารายวิชา TRM 225 งานมัคคุเทศก์ และ TRM 383 การนำชาวต่างชาติเที่ยวในประเทศไทย . วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 110-127
References
ขวัญชัย ขัวนา, ธารทิพย์ ขัวนา, และ เลเกีย เขียวดี. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(2), 77-96.
ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). (กรกฎาคม-ธันวาคม). สมรรถนะของครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียนเปลี่ยนสมรรถนะ. สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 12 (2), 47. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564.
จาก http://www.journalhri.com/pdf/1202_03.pdf.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่. สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นพปฎล ธาระวานิช. (2560). งานมัคคุเทศก์. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตตฤกษ์. (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 แปลจาก 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564.
จาก http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills/.______. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลต์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์.
วรางคณา ทองนพคุณ. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในอนาคต = 21st Century Skills: The Challenges Ahead. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม 2558. จาก http://www.education.pkur.ac.th
Bransford, J. D., Brown, A. L., & Cocking, R. R. (Eds.). (2000). How People Learn: Brain,Mind, Experience, and School. National Academies Press.
Chtouki, Y., & Milani, A. (2018). Peer-assisted learning: a literature review. In European Conference on Technology Enhanced Learning (pp. 18-32). Springer.
Dharawanij, N. (2019). Inbound Tour Conducting (TRM 383). Pathumthai: Rangsit University Press.
Dolmans, D. H., & Schmidt, H. G. (2006). What do we know about cognitive and motivational effects of small group tutorials in problem-based learning? Advances in Health Sciences Education, 11(4), 321-336.
Johnson, L., Adams Becker, S., Estrada, V., & Freeman, A. (2015). NMC/CoSN Horizon Report: 2015 K-12 Edition. The New Media Consortium.
Likert, Rensis. (1932). A Technique for the Measurement of Attitudes". Archives of Psychology. 140: 1– 55.
Means, B., Toyama, Y., Murphy, R., Bakia, M., & Jones, K. (2009). Evaluation of Evidence-Based Practices in Online Learning: A Meta-Analysis and Review of Online Learning Studies. U.S. Department of Education.
Partnership for 21st Century Learning. (2007). Framework for 21st Century Learning.Retrieved from http://www.p21.org/our-work/p21-framework
UNESCO. (2015). Education 2030: Incheon Declaration and Framework for Action.Retrieved from http://unesdoc.unesco.org/images/0024/002456/245656E.pdf
Indexed in