การพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา
The Development of Media Digital Comic for Enhancing the Active Citizen of Elementary Students
วันที่ส่งบทความ: 17 มิ.ย. 2566
วันที่ตอบรับ: 20 ก.ค. 2566
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2568
บทคัดย่อ
ความเป็นพลเมืองเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างยิ่งสำหรับคนในสังคม นักเรียนทุกคนควรตระหนักรู้ เข้าใจ และปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์ผู้ใช้และความคาดหวังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัล 2) เพื่อออกแบบและพัฒนาสื่อ
การเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัลที่ส่งเสริมสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัล และ 4) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัล ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ภาคปลาย ปีการศึกษา 2565 รวมจำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัล จำนวน 4 ตอน 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง หน้าที่พลเมือง และเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน 2) แบบสัมภาษณ์ประสบการณ์ผู้ใช้ และ 3) แบบประเมินสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การตีความข้อมูล สถิติเชิงบรรยาย และการทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการสัมภาษณ์ตัวอย่างวิจัยเกี่ยวกับประสบการณ์และความคาดหวังของนักเรียนในการเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง พบว่า นักเรียนขาดความสนใจเรียน เพราะเนื้อหาบทเรียนมีความน่าเบื่อ ไม่สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ และครูผู้สอนใช้การสอนแบบบรรยาย สำหรับการเรียนผ่านการดูการ์ตูน นักเรียนมีทัศนคติเชิงบวก ให้ความสนใจ เพราะมีเรื่องราวในการดำเนินเรื่อง มีภาพสีสัน มีเสียงพากย์ของตัวละคร และมีคำบรรยายประกอบ
2. การพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัลบนพื้นฐานแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีการพัฒนาจากหลักสูตร บทเรียน และประสบการณ์ผู้ใช้ผ่านการสัมภาษณ์ สามารถสรุปสื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัล แบ่งเป็น 4 ตอน โดยนำสื่อการเรียนรู้ไปใช้ผ่านแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับการสะท้อนคิด
3. ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน เรื่อง หน้าที่พลเมือง ก่อนและหลังการใช้สื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัลผ่านแผนการจัดกิจกรรมเรียนรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 และผลการประเมินพฤติกรรมนักเรียนก่อนและหลังการทดลองใช้สื่อการเรียนรู้การ์ตูนดิจิทัลผ่านแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ พบว่า คะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมนักเรียนทั้งก่อนและหลังเรียนอยู่ในระดับปานกลางถึงดี ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของนักเรียนยังไม่แตกต่างกันมากนัก
Abstract
Citizenship is important for society. All students should be aware, understand and behave as good citizens of society. The purposes of this research were: 1) to analyze the user experience and expectations of elementary students towards the media digital comic. 2) to design and develop media digital comic for enhancing the active citizen competencies of elementary students. 3) to compare an achievement about the active citizen competencies of elementary students before and after using the media digital comic, and 4) to compare the active citizen competencies of elementary students before and after using the media digital comic. The sample was 32 fifth grade students from Chulalongkorn University Demonstration Elementary School in the second semester of academic year 2022. The research instrument of this study consisted of experimental instrument and data collection instrument. The experimental instruments included 1) 4 episodes of the media digital comic, and 2) the lesson plan about a citizenship. The data collection instruments were 1) a pretest-posttest, 2) an user experience interview, and 3) an active citizen assessment. The statistics for analyzing the collected data were content analysis, descriptive statistics, and t-test. The research findings were as followed:
1) The results of interviews about the user experiences and expectations of students in learning about citizenship found that the students lacked interest in learning because the content was uninteresting. They can’t apply the knowledge and use it in daily life, and teachers used lecture-based teaching. It was shown that the students are more active when they learned by watching animation because the media digital comic consisted of storylines, colorful images, voices, and subtitles.
2) The media digital comic was developed based on the constructivist theory, curriculum, lessons, and user experience through interviews. There were 4 episodes of the media digital comic through a lesson plan.
3) The results of the analysis of achievement with citizenship pre-posttest demonstrated that the average score after learning through the media digital comic at .05 level was higher than before learning, and the results of the student behavior assessment before and after using digital cartoon learning media through the lesson plan found that the average scores of student behavior in both groups before and after learning were moderate to good. With the change in student behavior, there was not much difference.
Keywords
สมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง; สื่อการเรียนรู้การ์ตูนดิจิทัล; ประถมศึกษา; The Active Citizen; The Media Digital Comic; Elementary
How to cite!
ธัญวรัตม์ สิงห์จู (2568). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบการ์ตูนดิจิทัลเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 73-89
References
จิตรลดา ภูดินดาน. (2560). การใช้บทเรียนการ์ตูน ชุด พลเมืองดี วิถีประชาธิปไตย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนยะหริ่ง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. www.kroobannok.com
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนาภา งิ้วทอง และสุวิมล ว่องวานิช. (2561). การพัฒนาแบบวัดแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครู โดยใช้ผลจากการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 13(2). 252-263.
นราธร สายเส็ง, กุลชาติ ทักษไพบูลย์, ปวินท์ มินทอง, วิทยา วิสูตรเรืองเดช, อาทิตย์ อินธาระ,ตุลย์ จิรโชค โสภณ และอุทัย เกสรวิบูลย์. (2563). เงื่อนไขเชิงปฏิบัติของการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมือง :
การรับรู้และปัญหาการจัดการเรียนการสอนสาระหน้าที่พลเมืองในสถานศึกษาเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(2).
พัชราภา ตันติเวช. (2560). เจเนอเรชันแอลฟา : เจเนอเรชันใหม่ในสังคมไทยศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศักดิ์ชัย บุญทองดี (2548) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียน ความคงทนในการจำ และความพึงพอใจต่อการเรียนสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนในช่วงชั้นที่ 3 จากการใช้การ์ตูนเคลื่อนไหว 2 รูปแบบ.
[วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2564). การวิจัยการออกแบบทางการศึกษา (Design research in education). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (2564). หลักสูตรสมรรถนะ. https://cbethailand.com/
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). ข้อเสนอตัวชี้วัดการศึกษาเพื่อความเป็นพลเมืองโลก ตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development goal: SDG 4.7) :
กรณีศึกษาแนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโลก (global citizenship) ประสบการณ์นานาชาติ. [รายงานวิจัย]. กระทรวงศึกษาธิการ.
Akmal, Y., Koeswantono, S., Hartati, S., & Hikmah. (2020). Character development in generation alpha through social-emotional learning with parent involvement.
Proceedings of the 1st international conference on early childhood care education and parenting (ICECCEP 2019).
Davies, I., Evans, M., & Reid, A. (2005). Globalizing citizenship education? A critique of ‘Global education’ and ‘Citizenship education’.
British journal of educational studies, 53(1). 66-89. https://doi.org/10.1111/j.1467-8527.2005.00284.x
Dipaola, M. F., & Hoy, W. K. (2005). School Characteristics That Foster Organizational Citizenship Behavior. Organizational Citizenship Behavior, 15(4).
https://doi.org/10.1177/105268460501500402
Ichilov, O., & Nave, N. (1981). “The good citizen” as viewed by Isaraeli adolescents.Comparative Politics, 13(3). 361-376. https://doi.org/10.2307/421903
Jha, A. K. (2020). Understanding generation alpha. https://doi.org/10.31219/osf.io/d2e8g
McCrindle, M., & Fell, A. (2021). Generation Alpha.
O’English, L., Matthews, J. G., & Lindsay, E. B. (2006). Graphic novels in academic libraries: From Maus to manga and beyond. The Journal of Academic Librarianship, 2.
173– 182. https://doi.org/10.1016/j.acalib.2005.12.002
Rina, N. (2020). Character education based on digital comic media. International journal of interactive mobile technologies (iJIM), 14(3). https://doi.org/10.3991/ijim.v14i03.12111
Indexed in