วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การจัดการเรียนการสอนแบบอิงบริบทร่วมกับเครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเขียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอน

Contextual Teaching and Learning-Based Instruction with Digital Learning Tools to Enhance Writing Competency of Upper Secondary Students : Evaluation of Instructional Process


วันที่ส่งบทความ: 15 ธ.ค. 2566

วันที่ตอบรับ: 12 ก.พ. 2567

วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2568


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินความเหมาะสมของกระบวนการจัดการเรียนการสอนแบบอิงบริบทร่วมกับเครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเขียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย การดำเนินงานวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและยกร่างกระบวนการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และระยะที่ 2 การประเมินความเหมาะสมของกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทยและอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมแบบมาตรประมาณค่า ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ และขั้นตอนของกระบวนการ 5 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 เชื่อมโยงความรู้ ขั้นที่ 2 สร้างประสบการณ์ ขั้นที่ 3 ประยุกต์สู่สถานการณ์ใหม่ ขั้นที่ 4 ประเมินผล และขั้นที่ 5 เติมเต็มงานเขียนให้สมบูรณ์ โดยผลการประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอนจากผู้ทรงคุณวุฒิพบว่า กระบวนการจัดการเรียนการสอนนี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (Mean = 4.75, SD = .202) โดยอาจสามารถนำไปใช้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเขียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายได้

Abstract

This research aims to develop and evaluate the suitability of a contextual teaching and learning-based instruction with digital learning tools to enhance the writing competency of upper secondary students. The research is conducted in two phases. Phase 1 involves the study of basic information and drafting the instructional procedures including a review of relevant documents and research studies, and phase 2 includes the evaluate the suitability of instructional procedures by experts in related fields. The target group consists of five Thai language teachers and experts. The research instrument was the consistency index evaluation form. Data were analyzed using descriptive statistics, including arithmetic mean and standard deviation.The results revealed that the developed instructional procedures comprise objectives and a five-steps as 1) connect knowledge 2) create experiences 3) apply to new situations 4) evaluate results 5) refine work for completeness. The process evaluation by the experts indicates a highest level of suitability (M = 4.75, SD = .202). The developed instructional process may be able to use for enhancing writing competency of upper secondary students.
 

Download in PDF (733.59 KB)

How to cite!

ชุติมา หนูเกื้อ, & วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า. (2568). การจัดการเรียนการสอนแบบอิงบริบทร่วมกับเครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการเขียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย: การประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 19-35

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กอบสุข  คงมนัส. (2561). เครื่องมือดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้: วิถีแห่งการศึกษายุคดิจิทัล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(4), 279-290.

ชวิน  พงษ์ผจญ. (2563). การจัดการเรียนรู้รายวิชาศิลปะการเขียนและแต่งคำประพันธ์ตามแนวคิดการเรียนการสอนโดยอิงบริบทจริงเพื่อสร้างเสริมเจตคติเชิงบวกต่อการเขียนร้อยแก้วกับการแต่งคำประพันธ์ไทยและความพร้อมในการเป็นครูภาษาไทย.
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลอลงกรณ์, 14(1), 26-50. 

ชิษณุพงศ์  อินทรเกษม. (2563). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แหล่งข้อมูล เป็นฐานร่วมกับแนวการสอนเขียนแบบอรรถฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนเชิงวิชาการของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต
[วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต]. SWU Institutional Repository (SWU IR). http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1278

ทวิช  อัศวตระกูลวงศ์. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวการสอนเขียนแบบเน้นกระบวนการร่วมกับกลวิธี RAFT ที่มีต่อความสามารถในการเขียนความเรียงและเจตคติต่อการเขียนความเรียงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต].SWU Institutional Repository (SWU IR). http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1278

ทิศนา  แขมมณี. (2558). ศาสตร์การสอน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เธียรดนัย  เสริมบุญไพศาล. (2562). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต].Chulalongkorn University Intellectual Repository (CUIR). http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80947

บุญชม  ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). สุวีริยาสาส์น.

บุญญาพร  ทองจันทร์. (2560). ปัญหาการเขียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม). วารสารช่อพะยอม, 28(1), 125-132. 

ฤดีรัตน์  ชุษณะโชติ. (2559). การเขียนในสื่อดิจิทัล: แนวทางเพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนการเขียน. วารสารภาษาปริทัศน์, 31, 189-210.

Aktas, N., & Akyol, H. (2020). Effect of Digital Writing Workshop Activities on Writing Motivation and Development of Story Writing Skills. International Journal of Progressive Education, 16(3), 270-287. 

Artiza, M. (2017). Contextualization Using Localization and REACT Strategy in Teaching Science. https://www.academia.edu/36560295/Contextu

Berns, R. G., & Erickson, P. M. (2001). Contextual teaching and learning: Preparing students for the new economy. http://www.cord.org/uploadedfiles/NCCTE_Highlight05Context-TeachingLearning.pdf

Freiermuth, M. R. (2001). Features of electronic synchronous communication: a comparative analysis of online chat, spoken and written texts. Oklahoma State University.

Graham, S., Berninger, V., & Fan, W. (2007). The structural relationship between writing attitude and writing achievement in first and third grade students. Contemporary Educational Phychology, 32, 516-536.

Hasani, A. (2016). Enhancing Argumentative Writing Skill through Contextual Teaching and Learning.Educational Research and Reviews, 11(16), 1573-1578.

Hudson, C. C., & Whisler, V. R. (2007). Contextual teaching and learning for practitioners.Systemics, Cybernetics and Informatics, 6(4). 54-58.

Interactive Teaching in Languages with Technology. (2017). Digital tools. http://bit.ly/2h6ENUi

Ismail, N. H. B., & Sabil, A. B. M. (2019). An Analysis of Writing Competency Principle and Its Problem in Essay Writing.
International Journal of Academic Research in Progressive Education and Development, 8(4), 1103–1109.

Isnin S.F. (2017). Exploring the Needs of Technical Writing Competency in English among Polytechnic Engineering Students.
International Journal of Academic Research in Business and Social Sciences, 7(12), 77-90.

Jubhari, Y., Sasabone, L. & Nurliah, N. (2022). The Effectiveness of Contextual Teaching and Learning Approach in Enhancing Indonesian EFL Secondary Learners’ Narrative Writing Skill.
Journal of Research and Innovation in Language, 4(1), 54-66.

Kilpatrick, J. R., Saulsburry, R., Dostal, H. M., Wolbers, K. A., & Graham, S. (2014). The integration of digital tools during strategic and interactive writing instruction.
In R. S. Anderson & C. Mims (Eds.),Handbook of research on digital tools for writing instruction in K–12 settings (pp. 608–628). IGI Global.

Novak, J. D. (2011). A theory of education: Meaningful learning underlies the constructive integration of thinking, feeling, and acting leading to empowerment for commitment and responsibility.
Meaningful Learning Review, 1(2), 1-14. 

Organisation for Economic Co-operation and Development. (2005). The definition and selection of key competencies - Executive summary.
Paris: Organisation for Economic Co-operation and Development. http://www.oecd.org/pisa/35070367.pdf

Sessions, L., Kang, M. O., & Womack, S. (2016). The Neglected “R”: Improving Writing Instruction Through iPad Apps. TechTrends, 60(3), 218-225. https://doi.org/10.1007/s11528-016-0041-8

Skar, B. G., & Aasen, A. J. (2021). School writing in Norway: Fifteen years with writing as key competence. In Jill V. Jeffery & Judy M. Parr (Eds.),
International Perspectives on Writing Curricula and Development: A Cross-Case Comparison (pp. 192-216). Routledge.
 

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in