ผลการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่เสริมสร้างความสามารถในการใช้กระบวนการสืบเสาะของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในกิจกรรมเสริมการศึกษาของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
Effects of Non-formal Education Enhancing on Inquiry Process Abilities of Early Childhood Parents on Science Museum Education Activities.
วันที่ส่งบทความ: 22 ม.ค. 2567
วันที่ตอบรับ: 23 เม.ย. 2567
วันที่เผยแพร่: 1 ม.ค. 2568
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่มีต่อความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย ที่รับสมัครออนไลน์จำนวน 45 คน (คัดเลือกจากผู้สมัครโดยการสอบถามเป็นรายบุคคลเพื่อให้เข้าเกณฑ์ที่กำหนด) เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ แบบบันทึกความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ และแบบวัดความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบ dependent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของระดับความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ของผู้ปกครองหลังทดลอง (x ̅=4.20, S.D.=0.38) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมเท่ากับ (x ̅ =3.41, S.D.=0.58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 2. ผู้ปกครองมีความคิดเห็นว่า ปัจจัยที่ส่งผลให้การศึกษาประสบความสำเร็จคือ 1) การสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้จัดกิจกรรม และผู้ร่วมกิจกรรมในระหว่างการดำเนินกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x ̅=4.67) รองลงมา 2) การพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้วิจัยและผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3) กระบวนการถ่ายทอดความรู้ที่เหมาะสมในการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับความพึงพอใจด้านระยะเวลาและด้านแหล่งเรียนรู้และการสื่อสาร (x ̅=4.58, x ̅=4.52) ตามลำดับ
Abstract
The objective of this quasi-experimental research was to investigate the effect of non-formal education activities on inquiry abilities of Early childhood parents participated in Science Museum activities. The sample groups for this research used volunteer selection was parents of early childhood children. Online application nationwide totaling 45 people. Research tool applied to this study used non-formal education management plan to strengthen inquiry abilities of Early childhood parents participated in Science Museum activities, activity record form, appreciation on inquiry abilities of Early childhood parents participated and satisfaction evaluation form. Statistics used to analyze the data include percentage, mean, standard deviation, and dependent t-test.The research results found that 1. the average level of inquiry ability to search for knowledge of parents after the experiment (x ̅ =4.20, S.D.=0.38), higher than before the activity (x ̅=4.20, S.D.=0.38) statistically significant 0.01 2. Parents reflected the results of the activities learning as follows: Factors affecting of success; 1) Creation of interaction between the organizer and participants during the activity which corresponds to the highest average environmental satisfaction (x ̅= 4.67) 2) Meeting and exchanging experiences between researchers and participants 3) Appropriate knowledge transfer process to encourage participants to have the ability to search for knowledge effectively. This corresponds to satisfaction with duration and learning resources and communication (x ̅= 4.58, x ̅= 4.52), respectively.
Keywords
กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน; การสืบเสาะหาความรู้; ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย; กิจกรรมของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์; Non-formal education activities; Inquiry based learning; Participated education; Science museum activities
How to cite!
ใหม่ สังขะเมฆะ, & สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2568). ผลการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนที่เสริมสร้างความสามารถในการใช้กระบวนการสืบเสาะของผู้ปกครองเด็กปฐมวัย ในกิจกรรมเสริมการศึกษาของพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์
.
วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 19(1), 1-18
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: มิตรสัมพันธ์ กราฟฟิค.
เทพกัญญา พรหมขัติแก้ว. (2563). เรียนรู้แบบสืบเสาะเด็กปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์.
ปฐม นิคมมานนท์. (2543). “ปรัชญาการศึกษานอกระบบ” ในการศึกษาตลอดชีวิต และการศึกษานอกระบบ. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้กลุ่มวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพมหานคร: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวทางการดําเนินงานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์. (2544). เด็ดดอกไม้นั้นกระเทือนถึงดวงดาว การปลูกฝังเด็กปฐมวัยรักสิ่งแวดล้อม.
ในหนังสืองานวันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สุนทริยา คำหาญสุนทร. (2547). การศึกษาความสนใจของเล่นของเด็กวัยเตาะแตะตามการรับรู้ของ ผู้ปกครอง. ปริญญานิพนธ์
กศ.ม. (การศึกษาปฐมวัย). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สุมาลี สังข์ศรี. (2545). การจัดการศึกษานอกระบบโดยวิธีการศึกษาทางไกลเพื่อส่งเสริมการศึกษาตลอดชีวิต เอกสารในโครงการส่งเสริมการแต่งตำราของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการศึกษาแห่งชาติ.
สุพิณ บุญชูวงศ์. (2532). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะวิชาครุศาสตร์ วิทยาลัยครูสวนดุสิต.
องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ. (2561). รายงานประจำปีการดำเนินงานองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อพวช.
อาชัญญา รัตนอุบล. (2551). พัฒนาการการเรียนรู้และการจัดกิจกรรมสำหรับผู้ใหญ่. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุ่นตา นพคุณ. (2546). กรอบแนวคิดการพัฒนาโปรแกรมอย่างมีส่วนร่วมทางการศึกษานอกระบบโรงเรียน. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์
อรพรรณ พรสีมา. (2543). การคิด. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Ingalls, J.D. (1973). A Trainer’s Guild to Andragogy. Washinton : U.S. Department of Health, Education and Welfare, Social and Rehabilitation Service.
Karplus, R. (1977). Science teaching and the development of reasoning. Journal of Science in Teaching.
Knowles, M. S. (1985). Andragogy in action. Applying modern principles of adult learning. Sanfrancisco: jossey Bass Inc. Publishers.
Stocklmayer, S. (2003). The communication of science and technology: Past, present and future agendas. International Journal of Science Education.
Indexed in