วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

Development of Creative Thinking of Grade 10 Students on the topic of Organisms’ Basic Chemistry by using STEM Education with Sufficiency Economy Philosophy


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างแผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนนาหว้าพิทยาคม “ธาตุประสิทธิ์ประชานุเคราะห์” ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน จากการ
สุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling technique) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทดสอบค่าที (t-test for dependent samples) แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.86/80.46 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ 2) ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t= 40.50) 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (t= 33.90) และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความพึงพอใจเฉลี่ย 4.70 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The purposes of the study were to 1) develop and test efficiency of lesson plans based on STEM education with sufficiency economy philosophy on the efficiency of 75/75, 2) compare creative thinking of Grade 10 Students both before and after using lesson plans, 3) compare learning achievement of Grade 10 students both before and after and 4) study satisfaction of Grade 10 students toward lesson plans based on STEM education with sufficiency economy philosophy. The sample of this study consisted of 30 Grade 10 students, Nawa Pittayakhom “Thatprasit Prachanukroh” School, during the first semester of academic year 2019. They were randomly selected by the cluster random sampling technique. The instruments were included lesson plans, creativity test, achievement test and satisfaction evaluation. The percentage, mean, standard deviation, and t-test for dependent samples was used in this research.

The results of this study were as follows: 1) The efficiency of lesson plans based on STEM education with sufficiency economy philosophy on topic of organisms’ basic chemistry for Grade 10 students was 82.86 and 80.46 percent, respectively. The average percentage means of the constructed materials exceeded the expected criterion (75/75). 2) Creative thinking of Grade 10 students were higher than before using constructed material at significant level of .01. 3) Learning achievement of Grade 10 students were higher than before using constructed material at significant level of .01, and 4) Satisfaction of Grade 10 students towards lesson plans based on STEM education with sufficiency economy philosophy were at the highest level.

Download in PDF (436.02 KB)

How to cite!

สิริยาพร พลเล็ก, อรุณรัตน์ คำแหงพล, & กุลวดี สุวรรณไตรย์. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาร่วมกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 210-224

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in