การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษา
Development of a Model for Enhancing Learning Management Competency to Develop 21st Century Learners for Elementary School Teachers
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษา 2) ศึกษาสภาพที่คาดหวัง สภาพที่มีอยู่จริง และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะ 3) สร้างและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะ และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ศึกษาองค์ประกอบและ ตัวบ่งชี้ของสมรรถนะ 2) ศึกษาสภาพที่คาดหวัง สภาพที่มีอยู่จริง และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะ 3) สร้างและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบ โดยใช้แบบแผนการทดลอง Randomized Control Group Pretest Posttest Design กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนระดับประถมศึกษาแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 16 คน และกลุ่มควบคุม 13 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพที่คาดหวังและสภาพที่มีอยู่จริงเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ เอกสารรูปแบบ แผนการจัดกิจกรรม แบบทดสอบวัดสมรรถนะด้านความรู้ แบบประเมินสมรรถนะด้านทักษะ และแบบวัดสมรรถนะด้านคุณลักษณะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง (PNImodified) และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยมีดังนี้
1. สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของครูประถมศึกษามีองค์ประกอบ 3 ด้าน ได้แก่ 1) สมรรถนะด้านความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 สมรรถนะ 30 ตัวบ่งชี้ 2) สมรรถนะด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 7 สมรรถนะ 33 ตัวบ่งชี้ และ 3) สมรรถนะด้านคุณลักษณะที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ 17 ตัวบ่งชี้
2. สภาพที่คาดหวังของครูประถมศึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่มีอยู่จริงเกี่ยวกับสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 0.47 ซึ่งแสดงว่า สมรรถนะทุกด้านจำเป็นต้องได้รับการพัฒนา
3. รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษาที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ ได้แก่ 1) ที่มาและความสำคัญ 2) แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 3) หลักการ 4) วัตถุประสงค์ 5) กรอบสมรรถนะ 6) เนื้อหา 7) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ และ 8) การวัดและประเมินผล โดยที่กระบวนการพัฒนาสมรรถนะมี 4 ช่วงระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 สร้างความตระหนักรู้ในความเป็นครูแห่งศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 2 เสริมความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ระยะที่ 3 ปฏิบัติการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนด้วยกิจกรรมการพัฒนาบทเรียนร่วมกันผ่านชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และระยะที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ผลการประเมินรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
4. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า 1) ครูที่ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบมีสมรรถนะด้านความรู้ หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 และสูงกว่าครูที่ไม่ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ครูที่ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบมีสมรรถนะด้านทักษะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ร้อยละ 70 และสูงกว่าครูที่ไม่ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 3) ครูที่ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบมีสมรรถนะด้านคุณลักษณะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่าครูที่ไม่ได้รับการพัฒนาตามรูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purposes of this research were to: 1) study the components of learning management competency for developing learners in the 21st century of elementary school teachers, 2) study the expected condition, actual condition, and the need for the development of learning management competency, 3) develop and evaluate the appropriateness of a model on enhancing learning management competency to develop learners in the 21st century for elementary school teachers, and 4) study the experimental results using the developed model. The research process was divided into 4 steps, consisting of : Step 1– studying the components and indicators of competency. Step 2 – studying the expected condition, actual condition, and the need for the development of competency. Step 3 – creating and assessing the appropriateness of the model. And Step 4 – studying their experimental results of using the model through the use of randomized control group pretest posttest design. The sample was elementary school teachers, divided into the experimental group of 16 teachers and the control group of 13 teachers obtained by multi-stage sampling. Research tools included a questionnaire of expected condition and actual condition regarding learning management competency, documentation about the model, an activity plan, a test for measuring competency of knowledge, a form for assessing competency in skills, and a form for measuring competency regarding the attributes. Statistics used in data analysis included percentage, mean, standard deviation, modified priority needs index (PNImodified) and t-test.
Results of the research were as follows.
1. The components of learning management competency for developing learners in the 21st century of elementary school teachers, that were divided into 3 aspects, namely 1) knowledge comprising 5 competencies and 30 indicators, 2) skills comprising 7 competencies and 33 indicators, and 3) attributes comprising 3 competencies and 17 indicators.
2. As a whole, the expected condition of learning management competency of elementary school teachers was at a high level, and actual condition was at a moderate level. For PNImodified of needs assessment for the development of competency was 0.47 expressing that all competencies needed to be developed.
3. The developed model of competency enhancement on learning management for the development of learners in the 21st century for elementary school teachers consists of: 1) the origin and significance, 2) basic theoretical concepts, 3) principles, 4) objectives, 5) competency framework, 6) contents, 7) process of competency development, and 8) measurement and evaluation. As for the competency development process, there are 4 phases as follows: Phase 1 – create awareness of being a teacher of the 21st century. Phase 2 – enhance knowledge and understanding in learning management in the 21st century. Phase 3 – practice in classroom learning management with the joint lesson development activity through the professional learning community. Phase 4 – exchange learning to sustainable development. The result of evaluating the model by experts found that it was appropriate at the highest level.
4. The results of experiment in using the model found the following: 1) the teachers who were developed according to the model had knowledge competency after the experiment higher than before the experiment, which was higher than the set criterion of 70 percent and higher than those who were not developed according to the model with statistical significance at the .01 level; 2) the teachers who were developed according to the model had competency in skills after the experiment higher than before the experiment, which was higher than the set criterion of 70 percent and higher than those who were not developed according to the model with statistical significance at the .01 level; and 3) the teachers who were developed according to the model had competency in attributes after the experiment higher than before the experiment and higher than those who were not developed according to the model with statistical significance at the .01 level.
Keywords
รูปแบบ; สมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ; ครูประถมศึกษา; Model; Learning Management Competency to Develop 21st Century Learners; Elementary School Teachers
How to cite!
ประยูร บุญใช้ (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับครูประถมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 118-137
Indexed in