วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริม เรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” ในห้องปฏิบัติการพยาบาล มหาวิทยาลัยรังสิต

Academic Achievement and Students’ Satisfaction towards the Use of Video “Medication Administration for Children” to Supplement Teaching in Nursing Laboratory, Ransit University


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมเรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” ในห้องปฏิบัติการพยาบาล มหาวิทยาลัยรังสิต กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 125 คน จำแนกเป็นกลุ่มควบคุมจำนวน 60 คน และกลุ่มทดลองจำนวน 65 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมเรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาในเด็ก 4) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการบริหารยาในเด็ก และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมเรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและการใช้ภาษาโดยผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาลจำนวน 3 คน ผลการทดสอบประสิทธิภาพของสื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมเรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” ได้ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) = 78/82 ค่าความตรงตามเนื้อหาและความเข้าใจด้านภาษา (IOC) ของแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาในเด็กเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าเฉลี่ยของแบบประเมินทักษะการปฏิบัติการบริหารยาในเด็ก และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมเท่ากับ 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาในเด็ก (KR-20) เท่ากับ 0.88 ตรวจหาค่าความเที่ยงของแบบประเมินทักษะปฏิบัติการบริหารยาในเด็กและแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมโดยวิธีครอนบาค ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาเท่ากับ 0.96 และ 0.95 ตามลำดับ มีการพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่างตลอดการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมเรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” ด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาในเด็กและทักษะปฏิบัติการบริหารยาในเด็กของนักศึกษากลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองโดยใช้การทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาในเด็กและทักษะปฏิบัติการบริหารยาในเด็กของนักศึกษากลุ่มทดลองในระยะหลังการทดลองสูงกว่าระยะก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p = .05 (t = 12.27, p =.00 และ t = 5.84, p = .00 ตามลำดับ) 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบริหารยาในเด็กและทักษะปฏิบัติการบริหารยาในเด็กของนักศึกษากลุ่มทดลองระยะหลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p = .05 (t = 4.98, p =.00 และ t = 2.53, p = .01 ตามลำดับ) และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริมเรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” ในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ทั้งด้านเนื้อหา คุณภาพของสื่อวีดิทัศน์ และประโยชน์การนำไปใช้ในชั้นเรียนและในคลินิก

Abstract

This research aimed to study academic achievement and student’s satisfaction towards the use of video “Medication Administration” for children to supplement teaching in nursing laboratory, Rangsit University. A purposive sampling of 125 second year nursing students, Rangsit University was recruited for this study. Sixty students were assigned to the control group and 65 students to the experimental group. Research instruments consisted of 1) video media “Medication Administration for Children”, 2) Personal Data Questionnaire, 3) Knowledge about Medication Administration for Children Test, 4) the Nursing Skill on Medication Administration for Children Assessment Form, and 5) the Student’s Satisfaction on Using Video "Medication Administration for Children" to Supplement Teaching Questionnaire. Content validity of the 5 instruments and language use were examined by 3 nursing experts. Results of video efficiency testing (E1 / E2) = 78/82. The IOC obtained from the Knowledge about Medication Administration for Children Test ranged from 0.67-1.00 and the IOC obtained from the Nursing Skill on Medication Administration for Children Assessment Form, and the Student’s Satisfaction on Using Video "Medication Administration for Children" to Supplement Teaching Questionnaire was 1.00. The reliability of the Knowledge about Medication Administration for Children Test by using the KR-20 was 0.88. The reliability of the Nursing Skill on Medication Administration for Children Assessment Form and the Student’s Satisfaction on Using Video "Medication Administration for Children" to Supplement Teaching Questionnaire using Cronbach equal to 0.96 and 0.95, respectively. Ethical consideration and protection of the student’s rights was carried on throughout the study. Descriptive statistics were used to analyze personal data and student’s satisfaction towards the use of video. T-test was used to analyze and compare the academic achievement in knowledge and nursing skills in medication administration for children of the experimental group and the control group.

            The results revealed that 1) the mean score of knowledge about medication administration and nursing skill in medication administration for children of the experimental group at post experiment were significantly higher than that of the prior experiment at p = .05 (t = 12.27, p = .00 and t = 5.84,  p = .00, respectively), 2) the mean score of medication administration and nursing skill in medication administration for children of the experimental group at post experiment were significantly higher than that of the control group at p = 0.05 (t = 4.98, p =.00 and t = 2.53, p =.01, respectively), 3) students were satisfied with the video "Medication Administration for Children" to supplement teaching at the highest level in all aspects of lesson content, quality of video media, and the benefits of application in classroom and in clinic.

Download in PDF (440.79 KB)

How to cite!

เกศรา เสนงาม, ดวงใจ ลิมตโสภณ, & ธนัสมัญญ์ เหลืองกิตติก้อง. (2564). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการใช้สื่อวีดิทัศน์ช่วยสอนเสริม เรื่อง “การบริหารยาในเด็ก” ในห้องปฏิบัติการพยาบาล มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 30-48

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in