วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสถาบันการบินสำหรับโรงเรียนการบิน

Desirable Personality of Aviation Institute Students for Flying Training Schools


บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับ บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสถาบันการบิน
สำหรับโรงเรียนการบิน ข้อมูลที่ได้จะนำไปใช้ในการพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาแต่ละคนในระหว่างศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย
ให้มีบุคลิกภาพที่พึงประสงค์ก่อนที่จะไปเป็นนักบินฝึกหัดที่โรงเรียนการบิน ซึ่งบุคลิกภาพเป็นพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้
ประสบความสำเร็จในการฝึกบินและการประกอบอาชีพนักบินพาณิชย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาจำนวน 104 คน
เป็นชาย 94 คน และหญิง 10 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ในระดับปริญญาตรีสาขาวิชานักบินพาณิชย์
โดยใช้แบบทดสอบในการสร้างคำถามให้ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์แล้ววิเคราะห์ตามทฤษฎีองค์ประกอบทางบุคลิกภาพของ
Paul T. Costa and Robert R. McCrae (1992) ซึ่งได้พัฒนาแบบวัดบุคลิกภาพชื่อ NEO (The NEO Personality Inventor)
(1995)
ผลการวิจัยพบว่า บุคลิกภาพของนักศึกษาสถาบันการบิน 10 ด้าน ได้แก่ ด้านการเข้ากับผู้อื่น ด้านมองโลกในแง่ดี ด้าน
จินตนาการ ด้านความกระตือรือร้น ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านความวิตกกังวล ด้านความตื่นเต้น ด้านความรับผิดชอบ ด้าน
ความมั่นคงทางอารมณ์ ด้านโลกทัศน์แคบ ซึ่งผลปรากฏว่านักศึกษามีระดับพฤติกรรมในด้านการเข้ากับผู้อื่นมากที่สุด ระดับถัด
มาเป็นบุคลิกภาพ ในด้านจินตนาการ และบุคลิกภาพในด้านโลกทัศน์แคบมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เมื่อนำมาเปรียบเทียบตามทฤษฎี
บุคลิกภาพของ Paul T. Costa and Robert R. McCrae ด้วยแบบวัดบุคลิกภาพที่ชื่อ NEO (The NEO Personality Inventor)
อันประกอบด้วยบุคลิกภาพ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์ความรู้สึก ด้านการเข้าสังคม ด้านการเปิดเผยตนเอง ด้านความเห็น
พ้อง-ยินยอม และด้านความรู้สึกผิดชอบ ซึ่งเทียบเคียงได้ว่าบุคลิกภาพด้านการเข้ากับผู้อื่นสอดคล้องกับบุคลิกภาพด้านความ
เห็นพ้อง-ยินยอม บุคลิกภาพด้านจินตนาการสอดคล้องกับบุคลิกภาพด้านการเปิดเผยตนเอง บุคลิกภาพด้านโลกทัศน์แคบ
สอดคล้องกับบุคลิกภาพด้านการเปิดเผยตนเอง ดังนั้นจากผลการวิจัยนักศึกษาสถาบันการบินในครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่านักศึกษา
สถาบันการบินเป็นกลุ่มที่มีบุคลิกภาพด้านความเห็นพร้อม-ยินยอมและบุคลิกภาพด้านการเปิดเผยตนเองเป็นลักษณะเด่น

Abstract

The purpose of this research was to gain general data of personality traits of Aviation Institute Students
for Flying Training Schools. The data will be used to develop desirable personality of the students to meet
the standards of Flying Training Schools, as personality traits are one of basic keys to success in flying training, as
well as the aptitude for a career in aviation as a commercial pilot. The sample used in this study were 104
students, of which 94 male and 10 female students enrolled in Year 1 and Year 2 undergraduate commercial
pilot program. Questionnaire construction and analysis were based on the objectives of the personality theory
of Paul T. Costa and Robert R. McCrae (1992) who had developed The NEO Personality Inventor (1995).
The results of this research were as follows: Among the ten personality traits of Aviation Institute
students including: compatibility with others, optimism, imagination, enthusiasm, emotions, anxiety, excitement,
responsibility, emotional stability and narrow world view. The results regarding student behaviour showed
that they tended the most towards compatibility with others, followed by imagination while they tended
the least to have narrow world view. When compared student personality traits, one by one, to the NEO
Personality Inventor of Paul T. Costa and Robert R. McCrae, which covered five personality dimensions:
emotions, sociability, openness, agreeableness and conscientiousness, students’ compatibility with others
was consistent with agreeableness dimension while imagination and narrow world view were consistent with
openness dimension. As a matter of conclusion, and according to the results, agreeableness and openness
were dominant features of Aviation Institute students.

Download in PDF (317.83 KB)

How to cite!

ศุภกฤต อริยะปรีชา, & คธาทิพย์ กุญชร ณ อยุธยา. (2559). บุคลิกภาพที่พึงประสงค์ของนักศึกษาสถาบันการบินสำหรับโรงเรียนการบิน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 10(1), 86-94

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in