วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

เกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1 - 6

A Computer Game to Promote Antibiotics Use for The 1 st to 6th Year Pharmacy Students


บทคัดย่อ

เกมคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือการเรียนการสอนชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาวิชาชีพเภสัชกรรมพบว่าการ
ประยุกต์ใช้เกมการศึกษาสำหรับการเรียนการสอนมีน้อย วัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ทำการประเมินเกมคอมพิวเตอร์เพื่อ
ส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล กับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1 ถึง 6 โดยประเมินผลการเรียนรู้และความพึง
พอใจผ่านการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เนื้อหาของเกมประกอบด้วย 6 สถานการณ์ ได้แก่ ไข้หวัด คออักเสบไซนัสอักเสบ หูชั้นกลาง
อักเสบ ท้องร่วงเฉียบพลัน และแผลเลือดออก ผู้วิจัยทำการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญด้านเภสัชกรรม
ชุมชน เมื่อประเมินการใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่
1-6 จำนวน 180 คน โดยทำการทดสอบความรู้ก่อนและหลังการใช้เกมคอมพิวเตอร์แบบกลุ่มตัวอย่างเดียวสอบก่อน-หลัง ผล
การวิเคราะห์หาความแตกต่างของคะแนนความต่างความรู้ก่อนและหลังจากการประเมินการใช้เกมคอมพิวเตอร์พบว่าคะแนน
ผลการทดสอบความรู้เรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของกลุ่มตัวอย่างหลังจากเล่นเกมสูงกว่าก่อนเล่นเกม (ค่าเฉลี่ย
ก่อนเล่นเกม 21.04 ± 6.90 และหลังเล่นเกมเป็น 25.24 ± 7.10) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) การประเมิน
ด้านความพึงพอใจต่อระบบเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.73 ± 1.0 (คะแนนเต็ม 5) ความพึงพอใจต่อเนื้อหาของเกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล
โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.91 ± 0.83 (คะแนนเต็ม 5)

Abstract

Computer game is an effective educational tool. At present, computer game has incorporated into
education program. However in pharmacy education has few educational games. The objective of this study
are to develop a computer game for promoting rational antibiotics use that is suitable for pharmacy students
and to evaluate the learning outcomes and satisfaction of 1st to 6th year pharmacy students. The scope
of game content comprised of the use of rational antibiotics for bacterial infection in 6 situations, including
the common cold, pharyngitis, sinusitis, otitis, acute diarrhea and wound bleeding. The game’s efficieney
was evaluated by using a pretest - posttest single group design with the sample of 180 pharmacy students
from 1st to 6 th year. Results indicated that the knowledge about rational antibiotics use of students after playing
game was higher than before playing game at statistical significance (pretest average score = 21.04 ± 6.90,
posttest average score = 25.24 ± 7.10, p < 0.05). The overall result of satisfaction with the game systems was at a
good level, with an average of score 3.73 ± 1.01 (maximum score 5.0). The satisfaction with the game contents
was also at a good level, with an average of score 3.91 ± 0.83 (maximum score 5.0).

Download in PDF (511.82 KB)

How to cite!

ภัทรวิท สรรพคุณ, ลาวัลย์ ศรัทธาพุทธ, & พีรยศ ภมรศิลปธรรม. (2559). เกมคอมพิวเตอร์เพื่อส่งเสริมการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 1 - 6. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 10(1), 77-85

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in