วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การจัดการเรียนการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม: สภาพปัญหา ระดับการมีส่วนร่วม และผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา

Team-Based Learning: Problem Situation, Level of Participation and Student Achievement


บทคัดย่อ

การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาในการเรียนการสอนแบบการปฏิบัติ
งานกลุ่มหรือแบบทีม 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานกลุ่มของนักศึกษา คุณภาพการทำงานเป็นทีม และความ
คิดเห็นต่อประโยชน์ที่ได้รับจากการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ระหว่างกลุ่มที่มี
วิธีการสอนแบบบรรยายและกลุ่มที่มีวิธีการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือผู้เรียนใน
รายวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศจำนวน 64 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เครื่องมือ 3 ชุดคือ 1) แบบประเมินตนเอง
ของผู้เรียนในการมีส่วนร่วมต่อการทำงานกลุ่ม และรายงานสภาพปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม 2) แบบ
ประเมินคุณภาพการทำงานเป็นทีมในส่วนของการนำเสนองาน และ 3) แบบวัดผลการเรียนรู้ในรายวิชา สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ค่าที (t–test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม 5 ลำดับ
แรกคือ เวลาว่างจากการเรียนไม่ตรงกัน รองลงมาคือ สมาชิกในทีมมักมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน สถานที่ไม่เหมาะสม ขาด
ความสามัคคี และการสื่อสารพูดคุยภายในกลุ่มน้อย 2) ผู้เรียนให้ความสำคัญกับการมีส่วนในการทำงานแบบเป็นทีม อยู่ใน
ระดับมาก เมื่อพิจารณาคุณภาพการทำงานเป็นทีมในภาพรวมพบว่า มีคุณภาพผลงานของการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับดี โดย
ส่วนใหญ่จะให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมด้านเนื้อหา รองลงมาคือ การเตรียมความพร้อมด้านตัวผู้นำเสนอ และผู้
เรียนเห็นว่าได้รับประโยชน์จากการเรียนการสอนแบบทีม อยู่ในระดับมาก 3) คะแนนเฉลี่ยผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจากกลุ่ม
ที่จัดการเรียนการสอนแบบบรรยายและกลุ่มการเรียนการสอนแบบปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีมไม่แตกต่างกัน ทั้งนี้อาจเป็นผลสืบ
เนื่องมาจากสภาพปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม และอาจเป็นไปได้ว่าผู้
เรียนยังคงให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายทางการเรียนส่วนบุคคลเป็นสำคัญมากกว่าการบรรลุเป้าหมายของกลุ่มทำงาน
และแม้ว่าผลที่ได้รับไม่สอดคล้องกับผลการศึกษาในอดีต แต่ผู้วิจัยก็หวังว่าการศึกษานี้จะเป็นแนวทางและเป็นประโยชน์สำหรับ
การศึกษาต่อไปในอนาคต

Abstract

The objectives of this classroom research were: 1) to study and analyse problems in team-based
learning; 2) to study student participation in teamwork, teamwork quality, and explore students’ opinions
toward benefits gained from team-based learning; and 3) to compare student achievement between
lecture-based learning and team-based learning. The sample used in this research were 64 students who
enrolled in International Business Management course. Data was collected by using 3 questionnaires including:
1) Self-assessment questionnaire regarding participation in teamwork and report of problems related to
teamwork or group working; 2) Questionnaire for evaluating teamwork quality in terms of presentation and
3) Achievement test in International Business Management course based on quantitative data analysis by
using descriptive statistics: frequency, percentage, standard deviation, and t-test.
The results showed problems hindered teamwork-based instruction. 1) The first five problems
covered the problem of difference of student’s free period, followed by problem of different opinions of
team members, problem of improper location and facilities, problem of lacking of team unity and lacking of
seriousness on assignments, and problem of insufficient communication among team members 2) Students
paid attention to participate in teamwork at a high level. When considering teamwork quality in terms of
presentation, it was found that teamwork quality was at a good level. Preparation for the content was the
item the most emphasized by the students, followed by presenter’s preparation. They found team-based
learning useful at a high level. 3) There were no differences in achievement test scores, between lecture-based
learning and team-based learning. This could be due to problems hindering team-based learning including
environment and facilities provided by the university as well as problems of lacking of team unity and seriousness
on assignments. It was possible that students remained paying attention on personal achievement rather
than emphasizing on team’s achievement goal. Although the results were inconsistent with those of former
researches, the researcher hoped that this study could provide guideline and benefit further study.

Download in PDF (354.08 KB)

How to cite!

ธารทิพย์ พจน์สุภาพ (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบการปฏิบัติงานกลุ่มหรือแบบทีม: สภาพปัญหา ระดับการมีส่วนร่วม และผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 10(1), 36-46

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in