วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตสาขาฟิสิกส์์

Problem-Based Teaching for Bachelor’s Degree Students in Physics Education


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตสาขาฟิสิกส์
เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้
ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาการบูรณาการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานวิชาฟิสิกส์ และพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะ
ทางปัญญาของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาฟิสิกส์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตร
ครุศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาฟิสิกส์ ในภาคการเรียน 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 39 คน และที่สมัครใจให้ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึก
จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ แฟ้มสะสมผลงานของผู้เรียน ที่ประกอบด้วยแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน ผลงาน
และการประเมินการทำงานกลุ่มและตนเอง แบบสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะทางปัญญา
แบบประเมินการนำเสนอผลงาน และแนวทางสัมภาษณ์ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะทางปัญญา ดำเนินการวิจัยตาม
วงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบเกลียว และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้
สถิติพื้นฐานได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะทางปัญญา
ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาการบูรณาการจัดการ
เรียนรู้และการปฏิบัติงานวิชาฟิสิกส์มีความสอดคล้องกับวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบเกลียวของ Kemmis & Mc Taggart
และสามารถพัฒนาเป็นรูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักในรายวิชาการบูรณาการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติ
งานวิชาฟิสิกส์ได้ 11 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นสร้างความตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ปัญหา 2) ขั้นสำรวจความรู้เดิมของผู้เรียน
3) ขั้นสรุปขอบเขตของการเรียนรู้ 4) ขั้นแบ่งกลุ่มและร่วมวางแผนทำงาน 5) ขั้นจัดเตรียมกิจกรรม แบบฝึก หรือมอบหมายงาน
ที่ต้องทำ 6) ขั้นผู้เรียนเผชิญปัญหาที่เป็นพื้นฐานของการแก้ปัญหา 7) ขั้นจัดเตรียมแหล่งความรู้หรือข้อมูลสำหรับผู้เรียนศึกษา
ค้นคว้า 8) ขั้นเสริมแรง แนะนำ และส่งเสริมแก่ผู้เรียน 9) ขั้นสรรค์สร้างผลงาน 10) ขั้นนำเสนอผลงานและ 11) ขั้นประเมิน
ผลการเรียนรู้ ในส่วนคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะทางปัญญาพบว่า 1) คะแนนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะ
ทางปัญญาของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาฟิสิกส์หลังเรียนรายวิชาการบูรณาการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานวิชาฟิสิกส์ มี
ค่าร้อยละ 79.73 2) มีค่าเฉลี่ยคะแนนตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะทางปัญญารายบุคคลเฉลี่ยเท่ากับ 7.91 และค่า
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานรายบุคคลเฉลี่ยเท่ากับ 0.49 3) คุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านทักษะทางปัญญาทั้ง 9 ข้อมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
7.97 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51

Abstract

Problem-Based Teaching for Bachelor’s Degree Students in Physics Education was a learning development
research with 2 objectives: 1) to develop a Problem-Based Teaching model for Bachelor’s Degree Students
in Physics Education who enrolled in the Integrating and Practice of Physics Course, and 2) to develop desirable
characteristics of cognitive skills. The target group was 39 third year students in Physics Education in the
second semester of 2013 and 10 volunteers for in-depth interview. Cycles of Kemmis & Mc Taggart Action
Research were applied. Research’s tools consisted of students’ portfolio including the self-assessment work
and group work, classroom observation form regarding desirable characteristics of cognitive skills, evaluation
form of group presentation and students’ journals. The qualitative data were analyzed using content analysis
while basic statistics (percentage, mean and standard deviation) were used to analyze the quantitative data
relating to desirable cognitive characteristics.
Results showed that the Problem-Based Teaching model was consistent with Cycles of Kemmis &
Mc Tagggart Action Research and could be further used in the Integrating and Practice of Physics Course.
The model was comprised of 11 stages : 1) raise awareness of the importance of problem to be solved ; 2)
survey prior knowledge of the students ; 3) fix the scope of the learning topics ; 4) divide the students into
groups so as they plan to work ; 5) prepare activities, practices and assign tasks ; 6) have students exposed to
problems to be solved ; 7) provide them with information and resources ; 8) give advice and reinforcement
to students ; 9) have them work together ; 10) have them present their work ; and 11) evaluate their learning.
As regards desirable characteristics of cognitive skills, 1) the findings yielded student scores at 79.732 %. 2.
The mean of individual score and standard deviation were at 7.91 and 0.49, respectively. 3) The mean and
standard deviation of the nine desirable characteristics of cognitive skills was at 7.97 and 0.51, respectively.

Download in PDF (421.29 KB)

How to cite!

เจนศึก โพธิศาสตร์ (2559). การจัดการเรียนการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักสำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิตสาขาฟิสิกส์์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 10(1), 1-13

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in