การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่มีการโต้แย้ง ในรายวิชาชีววิทยา
The Development of Tenth Graders’ Scientific Reasoning Ability through Argument-Driven Inquiry in Biology Course
บทคัดย่อ
งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีจุดประสงค์เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่มีการโต้แย้งในรายวิชาชีววิทยา ที่ช่วยพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 32 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ บันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ของครู วีดิทัศน์บันทึกการจัดการเรียนรู้ อนุทินสะท้อนความคิดของนักเรียน และใบกิจกรรมของนักเรียน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและวิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่มีการโต้แย้ง ที่ส่งผลทางบวกต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของกลุ่มที่ศึกษา ได้แก่ (1) จำแนกแยกแยะข้อมูลลงในตาราง ชี้ช่องทางการค้นหารูปแบบ และ (2) ลำดับประเด็นในการโต้แย้งให้มั่นสำคัญต่อการตั้งสมมติฐานนิรนัย และพบว่านักเรียนร้อยละ 70 ขึ้นไปมีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในกลุ่มมีความสามารถสมบูรณ์ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่มีการโต้แย้ง
Abstract
This classroom action research aimed to find out good teaching practices in the argument-driven inquiry (ADI) in Biology course that can develop tenth graders’ scientific reasoning ability. The participants were a class of 32 students from a public high school in Bangkok Metropolis. Data were obtained from the scientific reasoning test, teacher’s reflective journal, video-recorded of classroom instructions, students’ reflective journal, and students’ worksheets. Data were analyzed by using content analysis and inductive analysis. Finding revealed that the good teaching practices of the ADI which provided positive impact on the participants’ scientific reasoning ability were: (1) the use of data table for promoting students’ ‘identifying patterns from data’; and (2) a systematic order of argument topics for practicing ‘hypothetical-deductive reasoning’. The study also found that more than 70% of students were in the complete level of scientific reasoning ability after learning through the ADI.
Keywords
การให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์; การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่มีการโต้แย้ง; แนวปฏิบัติที่ดีในการสอน; scientific reasoning; argument-driven inquiry; good teaching practice
How to cite!
ไอย์ลดา สมภาร, เมษยะมาศ คงเสมา, & จีระวรรณ เกษสิงห์. (2565). การพัฒนาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่มีการโต้แย้ง ในรายวิชาชีววิทยา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 16(1), 33-49
Indexed in