วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ เรื่อง วงจรบัญชี สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต

Development of Interactive Multimedia Electronic Comic Book on Accounting Cycle for Undergraduate Students of Rangsit University


วันที่ส่งบทความ: 18 ต.ค. 2564

วันที่ตอบรับ: 18 พ.ย. 2564

วันที่เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ เรื่องวงจรบัญชี สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ เรื่องวงจรบัญชี ของนักศึกษาปริญญาตรี และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาปริญญาตรีที่มีต่อหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ เรื่อง วงจรบัญชี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาจำนวน 30 คน ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต ที่ลงทะเบียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ One Group Pretest-Posttest Design การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent sample) ผลการประเมินคุณภาพของหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ยรวม 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 ผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 4.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.37 ผลการวิจัยพบว่า หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอ นิกส์แบบสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ เรื่องวงจรบัญชี ที่สร้างขึ้นสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มีประสิทธิภาพ 91.00 / 93.33 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากการใช้หนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์ (คะแนนหลังเรียน) สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Abstract

The objectives of this research were: 1) to create an interactive multimedia electronic comic book on accounting cycle for undergraduate students, which must meet the 90/90 standard criterion, 2) to study the achievements after learning with an interactive multimedia electronic comic book on accounting cycle of undergraduate students enrolled in the second semester of the Academic Y/ear 2020 and 3) to study the students’ satisfaction toward an interactive multimedia electronic comic book. The samples used in this research were thirty undergraduate students enrolled in the second semester of Academic Year 2020, selected with cluster sampling technique. The research instruments were an interactive multimedia electronic comic book, a learning achievement test and a satisfaction questionnaire. The research adopted a one group pretest – posttest experimental research design. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test (Dependent sample).

The results of the study revealed that the content quality assessment was at the high level, with the mean score of 4.29 and standard deviation of 0.64. The technical quality assessment was at the highest level, with the mean score of 4.55 and standard deviation of 0.37. It was found that the efficiency of an interactive multimedia electronic comic book on accounting cycle was 91.00/93.33 which passed the criteria of the 90/90 standard criterion. After studying the electronic comic book, the students’ achievement scores (the post-test scores) were significantly higher than those of the pre-test scores at the level of .05. In addition, the students’ satisfaction toward an interactive multimedia electronic comic book was at the highest level.

 

Download in PDF (754.2 KB)

How to cite!

เกศรา สุพยนต์ (2566). การพัฒนาหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมปฏิสัมพันธ์ เรื่อง วงจรบัญชี สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 17(2), 77-90

References

กมล  สังข์ทอง. (2555). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องพื้นฐานเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน สำหรับนักศึกษาหลักสูตรเทียบโอน คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. 

กุลธิดา เด่นวิทยานันท์. (2561). อีบุ๊คโอกาสที่มากับความท้าทายของธุรกิจสิ่งพิมพ์ไทย. สืบค้นจาก Pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs.20180628.html

ฉวีวรรณ แก้วไทรฮะ. (2553). การพัฒนาบทเรียนปฏิบัติการสำเร็จรูป PI_Lab เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลในรายวิชาการคิดสร้างสรรค์และการตัดสินใจ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. สืบค้นจาก http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/922/1/144_53.pdf  

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7- 20.         

เปรื่อง กุมุท. (2519). เทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม. กรุงเทพฯ:  มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พัชรินทร์ พุ่มลำเจียก. (2556). อิทธิพลเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

พัชรี สุวรรณสะอาด. (2560). Thailand 4.0: ส่งเสริมเยาวชนไทยใส่ใจการอ่าน. อินทนิลทักษิณสาร, 12(3 ฉบับพิเศษ), 187-210.   

พูลสุข ปริวัตรวรวุฒิ. (2558). ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก 203.131.219.167/km2559/2015/04/17/ 

ไพฑูรย์ ศรีฟ้า. (2551). E-Book หนังสือพูดได้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

มนตรี แย้มกสิกร. (2551). เกณฑ์ประสิทธิภาพในงานวิจัยและพัฒนาสื่อการสอน: ความแตกต่าง 90/90 Standard และ E1/E2. วารสารศึกษาศาสตร์, 19 (1), 1-16.

ยืน ภู่วรวรรณ. (2558). นวตกรรมการเรียนการสอนกับการศึกษาระบบ 4.0. สืบค้นจาก. http://www.tci- thaijo.org>sjss>article

วารุณี คงวิมล. (2559). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง การใช้โปรแกรม Photoshop เพื่อผลิตสื่อการสอนสำหรับครูระดับประถมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2562). นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580). สืบค้นจาก https://onde.go.th/assets/portals/1/files/620425-Government%20Gazette.PDF

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12  พ.ศ. 2560 – 2565. สืบค้นจาก Nesdb.go.th/download/plan12

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ตัวชี้วัดด้านเทคโนโลยีและการสื่อสาร พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/pubs/e-book/ICT_61/files/assets/basic-html/index.html

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2559). จิตวิทยาการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Asrowi., Hadaya, A., & Hanif, M. (2019). The Impact of Using the Interactive E-book on Students’ Learning Outcomes. International Journal of Instruction, 12 (2), 709 – 722.

Curcic, S & Johnstone, R. S. (2016). The Effects of an Intervention in Writing with Digital Interactive Books. Computer in the schools, 33(2), 71–88.

Dyckman, T. (2019). Financial Accounting (6th ed.). USA: Cambridge Business.  

Huang, Y. M., Liang, T. H., Su, Y. N., & Chen, N. S. (2012). Empowering Personalized Learning with an Interactive E-book Learning System for Elementary School Students. Education Technology and Research Development, 60, 703–722.

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in