วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การเรียนรู้ด้วยใจที่ใคร่ครวญเพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตัวผู้เรียน ผู้สอนและชุมชน: กรณีศึกษา วิชากายภาพบำบัดชุมชน

Contemplative Education for Inner Changes of the Learners, Teachers and Community: A Case Study of Community Physical Therapy Course


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาและคนในชุมชนทั้งในระหว่างและภายหลังจากการจัดกระบวนการเรียนรู้ในวิชากายภาพบำบัดชุมชนใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้ให้ข้อมูลหลักคือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชากายภาพบำบัดชุมชน อาจารย์ผู้สอนวิชากายภาพบำบัดชุมชน คนในชุมชนที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของวิชากายภาพบำบัดชุมชน ใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการทบทวนเอกสารแผนการสอน รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆที่อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษา ได้แก่ สมุดบันทึกประจำวันของนักศึกษา และเอกสารอื่นๆเก็บข้อมูลจากการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมของผู้วิจัย ระหว่างที่มีการจัดการเรียนการสอน และการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มกับนักศึกษา อาจารย์และคนในชุมชน ทั้งช่วงก่อน ระหว่างและหลังจากการจัดการเรียนการสอนวิชากายภาพบำบัดชุมชน
    ผลการศึกษาพบว่านักศึกษาได้เรียนรู้ถึงคุณค่าของตนเองว่ามีความหมายต่อคนในครอบครัวและคนอื่นๆ เกิดความตั้งใจในการพัฒนาตนเองในเรื่องต่างๆ ทั้งนี้การเรียนรู้ดังกล่าวเกิดจากการที่นักศึกษาได้สัมผัสกับวิถีชีวิต ได้รับความรักความเมตตาจากคนในชุมชน ได้นำสิ่งที่ได้พบเจอมาใคร่ครวญ รวมทั้งได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในการทำงานของตนเอง ทั้งการทำงานกลุ่มและการทำงานร่วมกับคนในชุมชน การเรียนรู้ดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของนักศึกษาทั้งในเรื่องของทักษะทางกายภาพบำบัดชุมชน ทักษะชีวิต ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นและวิธีคิด

สำหรับตัวอาจารย์ผู้สอนพบว่าเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการสร้างบรรยากาศที่เร้าการเรียนรู้ของผู้เรียน ท่าทีที่เหมาะสมในการเรียนรู้ร่วมกัน การที่ครูสามารถจับสังเกตปรากฏการณ์ได้เร็วและใส่เงื่อนไขการเรียนรู้ได้ทันท่วงทีเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาที่สำคัญ ทั้งนี้หากอาจารย์สามารถสร้างชุมชนของครูผู้สอนที่มีทั้งพื้นที่และเวลาที่สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนกันได้โดยอิสระก็จะยิ่งเป็นการพัฒนาตัวผู้สอนมากขึ้น คนในชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของสุขภาพทั้งกายและใจที่ดีขึ้น เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้นทั้งการร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมต่างๆ
    ข้อเสนอแนะจากการวิจัยครั้งนี้คือ การจัดกระบวนการเรียนการสอนแบบจิตตปัญญาศึกษาอย่างเข้มข้นทั้งหลักสูตรจะทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ใหม่อย่างเต็มที่ ซึ่งต้องอาศัยพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกันที่เร้าการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกันในกลุ่มอาจารย์แล้วจึงขยายผลสู่นักศึกษาและคนในชุมชน

 

 

Abstract

The aim of this research was to study the changes of students’ and villagers’ self- knowledge during and after being part of the community physiotherapy module. The qualitative methodological approaches were applied in this research.  Data were collected from students, teachers, and villagers, who participated in the community physiotherapy module. This was done by reviewing the teaching plans, students’ assignments, and students’ reflection diary. Also interactive observation and in-depth interviewing of students, teachers and villagers during field trips were applied along and after the module.
    The results showed that the module empowered students to gain deep self-knowledge of how they were of great value for their family and for other people. The module helped them develop personal competency, as they were in touch with life style of villagers from whom they gained love and benevolence. They learnt by practicing reflective thinking and from real experiences, from team work and from working with villagers in various circumstances. Such practices in real life enhanced their community physiotherapy skills, life skills, working with others skills and thinking skills.    
    As for the teachers, they learnt to create a good ambiance for arousing student’s learning as well as to develop a concept of learning together with the students. More importantly, student’s learning was reinforced when teachers were able to detect difficult circumstances of the student which required a rapid reaction from teachers by using appropriate questions to challenge the students and to improve their critical thinking. Moreover, the open discussion method allowed all teachers of the module to freely exchange their ideas and that helped significantly improve their management skills. For the villagers, the module improved both their physical and mental health. Furthermore, the module contributed to develop a positive sense of community among them as they were more willing to join in community activities.      
    Finally, a few suggestions would be made in consequence of this research: Applying intensive contemplative education thorough the curriculum would enrich the students learning from real experiences. A creative learning community would be firstly created among teachers and then expanded learning engagement to students and to villagers.

 

Download in PDF (301.84 KB)

How to cite!

ช่อผกา ดำรงไทย, อรพินท์ จิตตวิสุทธิกุล, สุธีลักษณ์ ลาดปาละ, & วรชาติ เฉิดชมจันทร์. (2558). การเรียนรู้ด้วยใจที่ใคร่ครวญเพื่อการเปลี่ยนแปลงภายในตัวผู้เรียน ผู้สอนและชุมชน: กรณีศึกษา วิชากายภาพบำบัดชุมชน. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(2), 116-137

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in