การประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิตและบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต
Evaluation of Undergraduate and Graduate Programs of Accountancy, Faculty of Accounting at Rangsit University
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิตและบัญชีมหาบัณฑิต ของคณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสาระ (Contents Analysis) และการสำรวจความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการและวิชาชีพบัญชี ผู้ใช้บัณฑิต บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี 2546-2550 มหาบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี 2548-2550 ผู้บริหารและอาจารย์ประจำคณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต และนักศึกษาที่ศึกษาอยู่ในปัจจุบัน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถามที่มีโครงสร้างชัดเจน สถิติเชิงพรรณนาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า การกำหนดผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต และเพิ่มอีกหนึ่งด้านคือด้านทักษะการวิจัยในหลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต มีความสอดคล้องกับปรัชญา และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร รวมไปถึงการบริหารหลักสูตรและการประกันคุณภาพหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตรและเนื้อหารายวิชาอยู่ในระดับเหมาะสมมาก อย่างไรก็ตามผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้เสนอความคิดเห็นต่อการปรับปรุงหลักสูตรในรอบต่อไป โดยให้เพิ่มประสบการณ์ทางวิชาชีพบัญชี และการใช้ระบบสารสนเทศทางบัญชีในระดับธุรกิจให้มากขึ้นโดยบูรณาการเข้าไปในรายวิชาทางบัญชี รวมทั้งการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารให้แก่นักศึกษา
Abstract
This research aimed to evaluate Bachelor and Master Programs in Accountancy of Rangsit University by using Contents Analysis Method. Interviews and questionnaires with a clear structure were used to collect data from academic experts, professionals in Accountancy, employers, accountants who graduated from bachelor program during academic year of 2003-2007, and from Master Program during academic year of 2005-2007, current faculty team, lecturers and students in the Faculty of Accountancy, Rangsit University. Descriptive statistics were used to analyze data collected.
The results showed that the 5 determinations of learning outcomes in both Bachelor and Master Programs and the sixth one: research skills in Master Program, were consistent with its philosophy and objectives. Management and quality assurance of the Programs, curriculum structures and courses, were found suitable at a high level. However, stakeholders gave suggestions for the curriculum revision in the next round: enhance accounting professional experiences; make more effective use of business accounting information systems by integrating them into accounting courses and develop English communication skills of the students.
How to cite!
อริสรา ธานีรณานนท์, เปรมารัช วิลาลัย, & อัครวัฒณ์ พิมพ์แสง. (2558). การประเมินหลักสูตรบัญชีบัณฑิตและบัญชีมหาบัณฑิต คณะบัญชี มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(2), 107-115
Indexed in