วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและการปฏิบัติจริงของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข/สังคมศาสตร์ และสุขภาพต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์

A Comparative Study of Expected and Actual Performance of Graduate Students in Master of Arts Program in Medical and Health Social Sciences Program/ Social Sciences and Health Program in Achieving Their Thesis


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคาดหวังและระดับการปฏิบัติจริงของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข/ สังคมศาสตร์และสุขภาพ ต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์  จำแนกตามเงื่อนไขของระบบสนับสนุน เงื่อนไขเชิงพฤติกรรม และเงื่อนไขของนักศึกษา  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข/ สังคมศาสตร์และสุขภาพ (ภาคปกติและภาคพิเศษ) ตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 - 2555  ที่มาเข้าร่วมโครงการสัมมนาความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ ประจำภาคต้น ปีการศึกษา 2556  รวม 56 คน  โดยใช้แบบสอบถามแบบตัดขวาง  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ค่าความถี่  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าทีและค่าเอฟ 
ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังและการปฏิบัติจริงของนักศึกษาต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ จำแนกตามเงื่อนไขของระบบสนับสนุน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  โดยกลุ่มตัวอย่างมีระดับความคาดหวังสูงกว่าระดับการปฏิบัติจริงใน 2 ด้าน คือ ด้านการบริหารจัดการของหลักสูตร และด้านสิ่งสนับสนุนในการทำวิทยานิพนธ์
  2. ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังและการปฏิบัติจริงของนักศึกษาต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ จำแนกตามเงื่อนไขเชิงพฤติกรรม พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ใน 4 ด้าน คือ ด้านการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์  ด้านการส่งงานตามระยะเวลาที่กำหนด  ด้านการค้นคว้าและสืบค้นข้อมูล และด้านความต่อเนื่องในการทำวิทยานิพนธ์และการบริหารเวลา
  3. ในด้านเงื่อนไขของนักศึกษาที่ส่งผลต่อความแตกต่างของระดับความคาดหวังและระดับการปฏิบัติจริงของนักศึกษาต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ในด้านระบบสนับสนุน พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการลงทะเบียนวิชาวิทยานิพนธ์ในปีที่ต่างกัน มีระดับความคาดหวังและระดับการปฏิบัติจริงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีระดับการปฏิบัติจริงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  สำหรับด้านพฤติกรรมของนักศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและการลงทะเบียนวิชาวิทยานิพนธ์ในปีที่ต่างกัน มีระดับความคาดหวังและระดับการปฏิบัติจริงต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และกลุ่มตัวอย่างที่เข้าศึกษาในปีการศึกษาที่ต่างกัน มีระดับการปฏิบัติจริงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

This research was to study the levels of expected and actual performance of the graduate students for their thesis achievement, in terms of supportive system conditions, behavioral conditions and graduate student conditions. Samples were 56 graduate students in Master of Arts Program in Medical and Health Social Sciences Program/ Social Sciences and Health Program (day program and special program) of the academic year 2008-2013. A cross sectional questionnaire was implemented and statistics used for data analysis were frequency, percentage, means, standard deviation, t-test and F-test.   
    The research results were as follows :

  1. The comparative results between the expected and the actual performance of graduate students in achieving their thesis were statistically different at the .05 level. The students had higher expected performance than the actual one in two aspects: curriculum management and educational facilities that support their thesis achievement.
  2. Regarding behavioral conditions, the results also showed differences between the expected and the actual performance of graduate students in achieving their thesis with statistical significance at the .05 level, in four aspects: thesis advisors, submission of final paper by the deadline, documenting tasks, and constant work on thesis & time management. 
  3. As for graduate student conditions in achieving their thesis and in terms of supportive system, the results revealed statistical difference of students’ expected and actual performance between samples who registered for thesis in different academic years at the .05 level. Samples with different sex and monthly income had different levels of their actual performance by statistical significance at .05. Regarding students’ behavior, samples with different sex and registered for the thesis in different academic years also showed statistical difference between expected and actual performance at the .05 level.  The actual performance of the samples who enrolled in the programs in different academic years was also statistical different at the level of .05.

 

Download in PDF (260.25 KB)

How to cite!

เบญจมาส เจริญสุขพลอยผล, & รุ่งอรุณ สิงคลีประภา. (2558). การศึกษาเปรียบเทียบความคาดหวังและการปฏิบัติจริงของนักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสังคมศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุข/สังคมศาสตร์ และสุขภาพต่อความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(2), 10-25

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in