การพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐานเพื่อการบริหารจัดการ กลุ่มวิชาชีพ รายวิชาวีดิทัศน์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี การศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
Development of Work-Based Learning Resources for Management of Video Media Courses of Vocational Subject Groups, Bachelor of Technology Program in Medical Educational Technology, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินทรัพยากรการเรียนรู้ในกลุ่มวิชาชีพ รายวิชาวีดิทัศน์ที่มีลักษณะของการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐาน มีขั้นตอนดังนี้ 1) ค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) สำรวจความต้องการรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐาน จากอาจารย์ประจำหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 10 คน และนักวิชาการโสตทัศนศึกษา ที่ทำงานด้านการผลิตวีดิทัศน์ 10 คน 3) กำหนดรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐาน 4) ศึกษาตัวอย่างทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐาน 5) พัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐาน 6) ประเมินทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐาน โดยกลุ่มประชากร คือ อาจารย์ในหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 10 คน และกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่ทำงานในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยใช้การสุ่มแบบเจาะจง 10 คน
ผลการวิจัยมีดังนี้คือ ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐานในกลุ่มวิชาชีพ รายวิชา วีดิทัศน์ 4 รายวิชา คือ 1) ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้ในการทัศนศึกษา วิชา ศรทศ 250 สื่อวีดิทัศน์ขั้นพื้นฐาน2) ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้ในการแกะรอยอาชีพ วิชาศรทศ 350 การเขียนบทวีดิทัศน์ 3) ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้ในการเรียนรู้ผ่านทางการให้บริการสังคม วิชา ศรทศ 351 การถ่ายและตัดต่อวีดิทัศน์ระบบดิจิตอล 4) ทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิชา ศรทศ 450 ฝึกปฏิบัติงานผลิตวีดิทัศน์ ในส่วนของการประเมินทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐานในกลุ่มวิชาชีพ รายวิชาวีดิทัศน์ 4 รายวิชาที่พัฒนาขึ้น รายละเอียดดังนี้ 1) โดยภาพรวมทรัพยากรการเรียนรู้ของรายวิชา ศรทศ 250 สื่อวีดิทัศน์ขั้นพื้นฐาน ผู้ประเมินมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย 4.12) 2) โดยภาพรวมทรัพยากรการเรียนรู้ของรายวิชา ศรทศ 350 การเขียนบทวีดิทัศน์ ผู้ประเมินมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย 4.18) 3) โดยภาพรวมทรัพยากรการเรียนรู้ของรายวิชา ศรทศ 351 การถ่ายและตัดต่อวีดิทัศน์ระบบดิจิตอล ผู้ประเมินมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.21) 4) โดยภาพรวมทรัพยากรการเรียนรู้ของรายวิชา ศรทศ 450 ฝึกปฏิบัติงานผลิตวีดิทัศน์ ผู้ประเมินมีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมาก (ค่าเฉลี่ย 4.19)
Abstract
Research’s purposes were to develop and evaluate the quality of work-based learning resources in video media courses of vocational subject groups. Research’s processes consisted of 1) related document research studying 2) need assessment evaluation by 10 teachers in Bachelor of Technology (Medical Educational Technology), Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University and 10 audio-visual technical officers, who work in video media about the types of work-based learning 3) specify the types of work-based learning 4) example work-based learning resources studying 5) developing work-based learning resources 6) evaluating work-based learning resources by the population are 10 teachers in Bachelor of Technology (Medical Educational Technology), Faculty of Medicine Siriraj Hospital, Mahidol University and the representative sample are 10 professionals in educational technology, who work in health sciences (purposive sampling).
The findings were as follows The work-based learning resources in video media courses (4 courses) were 1) field trip resources in SIET 250 Basic Video Media course 2) job shadow resources in SIET 350 Video Script Writing course 3) service learning resources in SIET 351 Digital Video Shooting and Editing course 4) apprenticeship resources in SIET 450 Practice in Video Production course. The evaluate work-based learning resources in video media courses (4 courses) were as follows 1), overview the learning resources in SIET 250 Basic Video Media course, the agreements of evaluators, were at a “high” level (mean = 4.12) 2), overview the learning resources in SIET 350 Video Script Writing course, the agreements of evaluators, were at a “high” level (mean = 4.18) 3), overview the learning resources in SIET 351 Digital Video Shooting and Editing course, the agreements of evaluators, were at a “highest” level (mean = 4.21) 4), overview the learning resources in SIET 450 Practice in Video Production course, the agreements of evaluators, were at a “high” level (mean = 4.19)
How to cite!
ศุภจิต รัตนมณีฉัตร, & นาตยา ปิลันธนานนท์. (2558). การพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐานเพื่อการบริหารจัดการ กลุ่มวิชาชีพ รายวิชาวีดิทัศน์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยี การศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1), 91-106
Indexed in