การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสการสอบผ่านหรือไม่ผ่านวิชาสถิติธุรกิจ ของนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
A Logistic Regression Analysis of Factors Affecting Success or Failure Probability in Business Statistics Course of Faculty of Management Science students, Ubon Ratchathani University
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายกับตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจของนักศึกษา 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่สามารถทำนายโอกาสการสอบผ่านหรือไม่ผ่านในวิชาสถิติธุรกิจ และ 3) กำหนดสมการถดถอยโลจิสติกในการทำนายผลการสอบวิชาสถิติธุรกิจ ของนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 136 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) มา 2 ห้องเรียน จาก 4 ห้องเรียน ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาสถิติธุรกิจในปีการศึกษา 2/2556 ตัวแปรตามคือคะแนนรวมในวิชาสถิติธุรกิจโดยกำหนดให้คะแนนรวมมากกว่า 50% ถือว่าสอบผ่าน หากคะแนนรวมน้อยกว่า 50% ถือว่าสอบไม่ผ่านในวิชาสถิติธุรกิจ ตัวแปรทำนายได้แก่ เพศ เกรดเฉลี่ยก่อนเรียน ความคาดหวังในผลการเรียน ความรับผิดชอบ ความเพียร และคุณภาพการสอนของอาจารย์ โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถามนักศึกษา ที่มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.906 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก
ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจมีความสัมพันธ์กับตัวแปรความเพียรในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.661) รองลงมาคือตัวแปรคุณภาพการสอนของอาจารย์สัมพันธ์กับตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจในระดับค่อนข้างสูง (r = 0.618) และตัวแปรความรับผิดชอบกับตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจในระดับปานกลาง (r = 0.557) นอกนั้นตัวแปรทำนายตัวอื่น ๆ ไม่มีความสัมพันธ์กับตัวแปรตามอย่างมีระดับนัยสำคัญสถิติ 2) ผลการวิเคราะห์สมการถดถอยโลจิสติก (Logistic regression) พบว่า โมเดลการวัดสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยมีค่า Cox & Snell R2= 0.552 และค่า Nagelkerke R2= 0.769 แสดงว่า ชุดตัวแปรทำนายทั้ง 6 ตัว สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติธุรกิจได้ร้อยละ 55.3 และ 76.9 ตามลำดับ โดยภาพรวมของการพยากรณ์ได้ถูกต้องของสมการโลจิสติกมีค่าเท่ากับร้อยละ 86.7 ตัวแปรที่มีความสำคัญต่อการทำนายการสอบผ่านหรือไม่ผ่านวิชาสถิติธุรกิจมากที่สุดคือ คุณภาพการสอนของอาจารย์ ความเพียร และตัวแปรความรับผิดชอบ ตามลำดับ
สมการการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกที่ได้คือ Prob (ผ่านวิชาสถิติธุรกิจ) =
เมื่อ z = -10.606** + 2.047** (TeachQuality) + 1.973** (Perserverance) + 1.545 *(Responsibility)
Abstract
The purposes of this research were 1) to examine the correlation between selected predictors and business statistics achievement of university students, 2) to determine the significant variables that predict failure or success of business statistics achievement, and 3) to find out logistic regression equation to predict failure or success of business statistics achievement of Faculty of Management Science students, Ubon Ratchathani University. The dependent variable was business statistics achievement (scores greater or equal to 50% represent success; less than 50% represent failure). The predictors were gender, prior attainment, perservarance, responsibility and teaching quality. Survey research was used for this study. The Cronbach Alpha reliability of the questionnaire was 0.906. Cluster random sampling was used to select 2 sections from 4 sections of students (n=136) for 2 second year in 2/2013. The data were analyzed by descriptive statistics, multiple correlations, and logistic regression.
The research results from correlation analysis as follows: 1) the largest significant association was between business statistics achievement and persevarance (r = 0.661). The second strongest significant relationship was between business statistics achievement and teaching quality (r = 0.618), and the last significant moderate association was between business statistics and responsibility (r = 0.557). Other correlation pairs were not significant. 2) The Logistic regression analysis showed that the model fit the empirical data well and it could predict group membership correctly 86.7% with Cox & Snell R2 = 0.552 (55.2%) and Nagelkerke R2= 0.769 (76.9%). The significant predictors were teaching quality, perservarance, and responsibility, respectively. 3) The logistic regression equation was as follows:
Prob (Success of Busines Statistics) =
Where, z = -10.606** + 2.047**(TeachQuality) + 1.973** (Perserverance) + 1.545
How to cite!
เพ็ญภัคร พื้นผา (2558). การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อโอกาสการสอบผ่านหรือไม่ผ่านวิชาสถิติธุรกิจ ของนักศึกษาคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1), 50-67
Indexed in