การนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้“ผังมโนทัศน์”ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจริญวิชช์ จังหวัดกระบี่
The Use of Sufficiency Economy Philosophy Concepts to be Integrated with Learning Management through a Concept Map for Grade 6 Students of Chareonvich School in Krabi Province
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 “สถานศึกษาพอเพียง” จังหวัดกระบี่ ทั้ง 12 แห่ง 2) ทดลองการนำ “ผังมโนทัศน์” การประยุกต์แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจริญวิชช์ จังหวัดกระบี่ และ 3) ประเมินประสิทธิผลการนำ “ผังมโนทัศน์” การประยุกต์แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ ประชากรสำหรับวัตถุประสงค์งานวิจัยข้อ 1 คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 12 คน และครูผู้สอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 57 คน ใน “สถานศึกษาพอเพียง” จังหวัดกระบี่ ทั้ง12 แห่ง และ กลุ่มทดลองสำหรับวัตถุประสงค์งานวิจัยข้อ 2 และข้อ 3 คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 60 คน โรงเรียนเจริญวิชช์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์งานวิจัยข้อ 1 ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างสำหรับผู้อำนวยการโรงเรียน 2) แบบสอบถามสำหรับครูผู้สอน ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เครื่องมือวิจัยสำหรับวัตถุประสงค์งานวิจัยข้อ 2 และข้อ 3 คือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ ที่นำ “ผังมโนทัศน์” การประยุกต์แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 2) แบบทดสอบวัดความรู้ ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน 3) แบบสังเกตพฤติกรรม/การปฏิบัติในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน 4) แบบสังเกตคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน ด้าน “อยู่อย่างพอเพียง” 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยนำ “ผังมโนทัศน์” การประยุกต์แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยในปีการศึกษา 2555
1. ผลการวิจัยที่สำคัญตามวัตถุประสงค์งานวิจัยข้อ 1 มีดังนี้
1.1โรงเรียนที่ได้รับการรับรองเป็น ”สถานศึกษาพอเพียง” ทั้ง 12 แห่ง มีการนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปกำหนดในวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายของแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อเป็นแนวทางในการบริหาร มีการประชุมร่วมกับคณะครูและคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อหาแนวทางการนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ส่วนใหญ่เป็นการทำเกษตรในท้องถิ่น การพึ่งพาตนเองและสร้างอาชีพ มีการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนการจัดสภาพแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้
1.2 การดำเนินการโดยครูผู้สอน พบว่า ด้านการพัฒนาหลักสูตรมีการพัฒนาในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ ด้านการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (= 3.16) ด้านการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (= 4.23) ด้านการวัดและประเมินผลทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (= 3.91) สำหรับปัญหาการดำเนินการพบว่า ด้านการจัดการเรียนรู้มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย (= 1.85) ด้านการวัดและประเมินผลมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย (= 2.17) และด้านผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนด้านความเข้าใจและการประยุกต์ใช้ มีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง (= 2.55)
2. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์งานวิจัยข้อ 2 พบว่า นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจริญวิชช์ สามารถวิเคราะห์ “ผังมโนทัศน์” ซึ่งประกอบด้วย “ความมุ่งหมาย” “ความรู้” “คุณธรรม” “ประหยัด” “ประโยชน์” “ประสิทธิภาพ” และ “ปลอดภัย” อย่างครบองค์รวม เพื่อใช้ในการวางแผนและปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยรวม ร้อยละ 82.50
3. ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์งานวิจัยข้อ 3 มีดังนี้ 3.1) นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ในสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.2) นักเรียนมีการแสดงพฤติกรรม/การปฏิบัติในกระบวนการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 12.96/15 3.3) นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้าน “อยู่อย่างพอเพียง” อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยรวม เท่ากับ 8.05/10 และ 3.4) นักเรียนมีความพึงพอใจ ที่มีต่อการบูรณาการแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโดยใช้ “ผังมโนทัศน์” มีค่าเฉลี่ยรวมทั้งสิ้น อยู่ในระดับมาก (= 4.23)
Abstract
This research aims to 1) study the current situation of integrating sufficiency economy philosophy concepts into Learning Management for Grade 6 students from 12 schools certified as “Sufficiency Economy Education Institutions” in Krabi; 2) experiment with the integration of the sufficiency economy philosophy concepts in learning science and Thai through the use of a “concept map;” and 3) evaluate the effectiveness of the integration. The population group for Objective 1 consisted of 12 school directors and 57 teachers responsible for 8 learning strands in Grade 6 from the 12 certified schools. The experimental groups for Objectives 2-3 were 60 Grade 6 students at Chareonvich School in Krabi. The research instruments used to correct data for Objective 1 were a semi-structured interview for the school directors and a questionnaire for teachers. For Objectives 2 and 3, the research instruments used were lesson plans concerning science and Thai learning integrated with sufficiency economy philosophy concepts through the use of a “concept map,” pre and post test evaluation for student knowledge, an observation form for assessment of performance in the learning process, a student’s “Sufficiency” attribute assessment form, and a questionnaire on student satisfaction towards the integration of sufficiency economy philosophy concepts into learning management through a concept map. This study was conducted in 2012.
1. The main findings For Objective 1 were as follows:
1.1) All school directors of the 12 certified schools reported that they had specified the philosophy concepts of sufficiency economy in the visions, missions, and goals of their annual action plans: they had meetings with their teachers and education institution committee to find out how to use the principle concepts
of sufficiency economy with three loops two conditions in student learning; most of the learning activities involved agriculture, self-reliance and career building; they evaluated the learning activities and also supported environment and learning resources arrangements suitable for the activities.
1.2 ) The responses by the teachers responsible for Grade 6 learning strands in the 12 certified schools revealed that there was curriculum development in all learning strands; the integration of the sufficiency economy principle
concepts in all learning strands was at the average level (= 3.16); However, learning management, consisting of planning the integration of the sufficiency economy principle
concepts, projects/learning activities and learning resources was at the high level (= 4.23) ; and the evaluation of all learning strands was also at the high level (= 3.91). In terms of the operation problems encountered in the learning management were at the low level (= 1.85) and the evaluation of all learning strands were at the low level (= 2.17) The student learning outcomes in terms of their understanding the principle
of sufficiency economy with three loops two conditions and its applications in their learning and daily lives was at the average level (= 2.55)
2. For Objective 2, The integration of the sufficiency economy philosophy concepts in Thai and science learning management
through the “Concept Map” showed that Chareonvich School Grade 6 students could holistically analyze the elements of the “Concept Map” consisting of “Objective,” “Knowledge,” “Moral,” “Economy” “Usefulness,” “Efficiency,” and “Safety” in planning their learning activities at the average percentage score of 82.50.
3. For Objective 3, the evaluation of integration effectiveness disclosed that 3.1) students’ achievement scores were gained from pre and post tests evaluating their knowledge integrated with sufficiency economy philosophy concepts through the “concept map.” Their post test scores were significantly higher than pre test scores at the 0.05 level. 3.2) Chareonvich School Grade 6 students earned the total average score of their performance in the learning process at the high level of 12.96/15; 3.3) Chareonvich School Grade 6 students earned the total average score of their “Sufficiency” attributes at the high level of 8.05/10; and 3.4) student satisfaction towards the integration of the sufficiency economy philosophy concepts through the “Concept Map” in their learning was at a high level (= 4.23).
How to cite!
เจษฎาวุฒิ พัวพันสวัสดิ์, & สุพัตรา ประดับพงศ์. (2558). การนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปบูรณาการในการจัดการเรียนรู้โดยใช้“ผังมโนทัศน์”ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจริญวิชช์ จังหวัดกระบี่. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 9(1), 23-37
Indexed in