สุขภาวะทางจิตวิญญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตที่อยู่ในสภาพวิทยาทัณฑ์ : กรณีศึกษาคณะกายภาพบำบัด
Spiritual Well-Being of the Probation Students of Rangsit University: A Case Study of Physical Therapy Faculty
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสุขภาวะทางจิตวิญญาณของนักศึกษากายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยรังสิตที่อยู่ในสภาพวิทยาทัณฑ์ในปีการศึกษา 2555 และสำรวจปัจจัยที่มีความเชื่อมโยงกับสุขภาวะทางจิตวิญญาณระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเฉพาะกรณีใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากนักศึกษาคณะกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 1-4 มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2555 ที่อยู่ในสภาพวิทยาทัณฑ์และสมัครใจให้ข้อมูล เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตโดยตรง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวน 6 คน มีปัจจัยด้านร่างกายที่ทรุดโทรมจากการนอนไม่หลับด้านจิตใจที่มีภาวะซึมเศร้าและด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งปัจจัยด้านบวกและด้านลบ ประกอบด้วย แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว เพื่อน ครู
ผู้สอนบรรยากาศการเรียนรู้ ปัจจัยทั้งหมดนี้จะส่งผลซึ่งกันและกันและส่งผลสะท้อนไปสู่สุขภาวะทางจิตวิญญาณใน 2 ด้าน ด้านแรกคือด้านความผาสุกในสิ่งที่เป็นอยู่ ปัจจัยเหล่านี้มีผลสะท้อนในด้านการเข้าใจชีวิต การเห็นคุณค่าของชีวิต และการมีเป้าหมายในชีวิต ด้านที่สองคือ ด้านความผาสุกในความศรัทธายึดมั่นทางศาสนา ปัจจัยเหล่านี้มีผลสะท้อนในด้านการมีความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนาและการนำมาปฏิบัติ และการมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจสรุป การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ และสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลซึ่งกันและกัน และสะท้อนออกที่สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
Abstract
The present study aimed to investigate the spiritual well-being of the Physical Therapy students of Rangsit University who had probation status in the academic year of 2012; and to investigate the factors related with their spiritual well-being. This study was a qualitative research with a case study design. Subjects were specifically collected from Physical Therapy student in 1st - 4th year classes who had probation status in the academic year of 2012 and volunteered to participate in the in-depth interview and direct observation methods. The results showed that six volunteer students participated in this study had poor physical factors of insomnia, psychological depression, and environment factors which were both positive and negative factors, including social support from family, friends, teachers and learning atmosphere. All of these factors affected one another and impacted to the spiritual well-being in two aspects. The first was the existential well-being. These factors were reflected in the areas of life understanding and the value of life; and the life goals. The second was the religious well-being. These factors were reflected in the areas of the beliefs and faith in religion, religious practices and religious spirit. This study showed that students with low academic achievement had physical, psychological and environmental factors that affected each other and reflected on their spiritual well-being.
How to cite!
พรพิมล จันทรวิโรจน์, ศรัญญา คงมนัส, จตุพร บุญยวงษ์, สุภมาศ คงไข่, & วรชาติ เฉิดชมจันทร์. (2557). สุขภาวะทางจิตวิญญาณของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิตที่อยู่ในสภาพวิทยาทัณฑ์ : กรณีศึกษาคณะกายภาพบำบัด. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(2), 90-114
Indexed in