วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

An Effect of Participatory Learning Method in the Subject of Community Health Nursing on Learning Achievement of Nursing Students, School of Nursing, Rangsit University


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบ One-Group Pre-Post-Test Design เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม และศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมของนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 จำนวน 141 คน ที่เรียนวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง เป็นแผนการจัดการเรียนรู้ใบงาน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน และแบบสอบถามความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วยความพึงพอใจด้านบุคลิกของผู้สอน การสอน กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และบรรยากาศในการเรียนการสอน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test ผลการวิจัย พบว่า

1. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

2. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X= 4.16, S.D. = 0.70) ส่วนความพึงพอใจรายข้อ ข้อที่ได้คะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด คือ อาจารย์มีความรู้อย่างดีในเนื้อหาที่สอนและมีความสามารถในการสอน (X= 4.48, S.D. = 0.60) รองลงมา ได้แก่ แบบฝึกหัดช่วยทำให้เข้าใจเนื้อหาได้ดีขึ้น ()= 4.35, S.D. = 0.63) ส่วนข้อที่ได้คะแนนน้อยที่สุด คือ ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนในแต่ละชั่วโมงมีความเหมาะสม (X= 3.82, S.D. = 0.74)

Abstract

The purpose of this quasi-experimental one-group pre-post-test design research was to compare pre-post mean scores and to study the students’ satisfaction on participatory learning method among fourth year Public Health Nursing students, in the first semester of, the academic year 2012. The subjects were 141 fourth year-class nursing students, School of Nursing, Rangsit University.

The research instrument was course design approaching participatory learning method that comprised of lesson plan and worksheets constructed by the researcher. The instrument for collecting data was achievement test questionnaire on learning satisfaction consisted of these aspects; satisfaction on personality of instructor, learning method, learning activity, educational medias and learning climate. The satisfaction data were then analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. Additionally, Wilcoxon Signed Ranks Test was approached to compare pre-post mean scores on learning achievement.

The research finding revealed as follows:

1. The post-mean score on learning achievement statistically significantly higher than pre-mean score at the .001 level.

2. The total mean score on learning satisfaction was at good level  (X= 4.16, S.D. = 0.70).When considered by  item :“The instructor had good knowledge” was the highest ranked(X= 4.48, S.D. = 0.60) followed by “exercises help better understand the content” (X= 4.35, S.D. = 0.63) whereas “learning time period” was ranked at the least (X= 3.82, S.D. = 0.74)

Download in PDF (231.43 KB)

How to cite!

นิภา กิมสูงเนิน (2557). ผลของการจัดการเรียนการสอนแบบมีส่วนร่วมวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(2), 78-89

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in