วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี

Factor of Critical Thinking of Student Grade 6 Schools in the Urban Areas of Pattaya, Chonburi


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการคิดอย่างมีวิจารณญาณกับตัวแปรด้านนักเรียน ด้านโรงเรียน และด้านครอบครัวและเพื่อสร้างสมการถดถอยพหุคูณทำนายการคิดอย่างมีวิจารณญาณดังกล่าว โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 105 คน สุ่มโดยใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามความเชื่ออำนาจภายในตน แบบสอบถามนิสัยทางการเรียนแบบสอบถามพฤติกรรมการสอนของครู แบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างเพื่อน แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว แบบสอบถามการอบรมเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย แบบทดสอบวัดความสามารถด้านเหตุผล และแบบทดสอบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS

ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ตัวแปรความสามารถด้านเหตุผล ตัวแปรสัมพันธภาพในครอบครัว และตัวแปรนิสัยทางการเรียนมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สามารถทำนายการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรีได้ร้อยละ 48.4 โดยตัวแปรความสามารถด้านเหตุผล (MOT) สามารถทำนายได้มากที่สุดเท่ากับ 0.635 รองลงมาคือตัวแปรสัมพันธภาพในครอบครัว (HRE) เท่ากับ 0.199 และตัวแปรนิสัยทางการเรียน (LBH) เท่ากับ 0.031 ตามลำดับ และสามารถเขียนสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบได้ ดังนี้

CRI= -0.034+ 0.032(SCC) +0.635(MOT)**+ 0.031(LBH)** + 0.036(TBH) - 0.053(FRE) + 0.199(HRE)** - 0.114(DEM)

สมการถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ

ZCRI=   0.097 ZSCC + 0.599ZMOT**+0.078 ZLBH** + 0.076 ZTBH - 0.098 ZFRE + 0.339 ZHRE**-0.278 ZDEM

Abstract

This research aimed to 1) study the relationship between critical thinking and environmental variations (by student characters /school /family); 2) to create an equation of multiple regression according to the mentioned relationship.  The samples were 105 Grade 12 students of schools in Pattaya City, Chonburi, in the first semester of academic year 2013, selected through multi-stage sampling.

Eight tests (on self-belief, learning habit, teaching behavior, relationship with classmates, family relationship, democratic parenting, reasoning ability and critical thinking) were used as instruments and the data were analyzed through statistical package for social science (SPSS).

The results showed that reasoning ability, family relationship and learning habit were three significant variations; at the level of .01, and were able to predict the level of critical thinking at 48.4%. Between the three significant variations, reasoning ability ranked first at 0.635, followed by family relationship at 0.199 and learning habit at 0.031, respectively.  And the multiple regression equation using raw scores could be written as follows:

CRI= -0.034 + 0.032(SCC) + 0.635(MOT)** + 0.031(LBH)** + 0.036(TBH) - 0.053(FRE)   +0.199(HRE)** - 0.114(DEM)

Regression equations in standard score format is:

ZCRI  =   0.097 ZSCC + 0.599ZMOT** + 0.078 ZLBH** + 0.076 ZTBH - 0.098 ZFRE + 0.339 ZHRE** - 0.278 ZDEM

Download in PDF (269.29 KB)

How to cite!

ณัฐพร ประเสริฐสรรค์, เพ็ญแข บุญสอน, ชนัฏฏี หาญสมศรี, วิทวัส เพ็ญภู่, อรอุมา บุญพูน, & ภัทราวดี มากมี. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนในเขตเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(2), 62-77

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in