วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา

The Relationship between Motivation and Anxiety in Learning English among Bachelor Degree Students at Burapha University


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจและระดับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยบูรพา และเพื่อเปรียบเทียบระดับแรงจูงใจและระดับความวิตกกังวล โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และคณะวิชา กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับแรงจูงใจและความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปผลการวิจัยว่านิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยบูรพามีระดับแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษค่อนข้างมาก และมีความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามเพศเห็นว่า เพศชายมีแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่ำกว่าเพศหญิง แต่ทั้งสองเพศมีระดับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาถึงระดับแรงจูงใจและระดับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษโดยจำแนกตามช่วงอายุ และระดับการศึกษา เห็นว่านิสิตระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยบูรพามีระดับแรงจูงใจและระดับความวิตกกังวลไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามคณะวิชาที่เรียนพบว่านิสิตที่เรียนสาขาวิชาในด้านวิทยาศาสตร์มีแรงจูงใจในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่ำกว่านิสิตที่เรียนสาขาวิชาในด้านสังคมศาสตร์ ขณะที่นิสิตสาขาวิชาในด้านวิทยาศาสตร์มีความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงกว่านิสิตสาขาวิชาในด้านสังคมศาสตร์เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรแรงจูงใจและความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษพบว่า ตัวแปรทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กันทางด้านลบอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ

Abstract

The purposes of this research were to find out about motivation and anxiety level in learning English among bachelor degree students in Burapha University, and also to demonstrate how motivation was related to anxiety in EFL acquisition. Besides, the researcher worked to compare gender, age, year of study and major with motivation and anxiety in learning English. The samples were 400 bachelor degree students in Burapha University selected through multi-stage sampling. Questionnaires were used as an instrument mainly surveyed on students’ level of motivation and anxiety while learning English by following Likert Scale and the data were analyzed through Statistical Package for Social Science (SPSS).

The results showed that the level of motivation was rather high while the anxiety level was average. Male students had lower motivation level than female learners, but their anxiety level did not demonstrate any differences. Age and year of study revealed no differences when comparing with motivation and anxiety in learning English. Social major students possessed higher motivation level, whereas science major students had higher anxiety level. Finally, there was a negatively low level of correlation between motivation and anxiety in learning English among bachelor degree students at Burapha University.

Download in PDF (223.17 KB)

How to cite!

Soksan Dams, จิราพร เวชวงศ์, กุลชญา ภาหินโคกสูง, & ภัทราวดี มากมี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความวิตกกังวลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(2), 35-45

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in