การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องสื่อแนะนำการใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษ
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างสื่อแนะนำการใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษจำนวน 25 ชนิด 2) ประเมินประสิทธิภาพของสื่อมัลติมีเดียในเรื่องผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียน และ 3) ประเมินเจตคติและความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อมัลติมีเดีย ผู้วิจัยได้สร้างสื่อมัลติมีเดียโดยใช้โปรแกรม Macromedia Flash กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 4 จำนวน 125 คน ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1 จำนวน 60 คน ทำการศึกษาสื่อชุดที่ 1 ประกอบด้วยยาที่มีเทคนิคพิเศษ 11 ชนิด ได้แก่ ยาหยอดตา ยาเหน็บช่องคลอด การใช้กระบอกฉีดยา ในการป้อนยาเด็กเล็ก ยาขี้ผึ้งป้ายตา แผ่นแปะฮอร์โมนคุมกำเนิด ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาหยอดจมูก ยาสูด (Turbuhaler) ยาฉีดอินซูลิน ยาพ่นจมูก ยาสูด (Accuhaler) และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนโดยใช้แบบประเมินชุดที่ 1 มีข้อคำถาม 33 ข้อ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 จำนวน 65 คน ทำการศึกษาสื่อชุดที่ 2 ประกอบด้วยยาที่มีเทคนิคพิเศษ 14 ชนิด ได้แก่ปากกาฉีดอินซูลิน แผ่นแปะนิโคติน ยาเหน็บทวาร ยาหยอดหู ยาอมใต้ลิ้น ยาน้ำเชื่อมชนิดผง โซเดียมไธโอซัลเฟต ผงเกลือแร่ โคเลสไธลามีนชนิดผง หมากฝรั่งนิโคติน ยาพ่นจมูกแคลซิโตนิน น้้ำเกลือล้างจมูก ยาสูดพ่นกำหนดขนาด ยาสวนทวารหนัก และประเมินผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนโดยใช้แบบประเมินชุดที่ 2 มีข้อคำถาม 38 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยแบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนทั้งสองชุด ก่อนการดูสื่อและหลังการดูสื่อแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value=0.002, 0.007 ตามลำดับ) โดยคะแนนเฉลี่ยของชุดที่ 1 ก่อนการดูสื่อคิดเป็น 57.64 % เพิ่มขึ้นเป็น 85.52 % ภายหลังการดูสื่อ และคะแนนเฉลี่ยชุดที่ 2 ก่อนการดูสื่อคิดเป็น 63.07 % เพิ่มขึ้นเป็น 82.39 % ภายหลังการดูสื่อ ผลการประเมินเจตคติและความพึงพอใจต่อการใช้สื่อ พบว่ากลุ่มตัวอย่างให้คะแนนดีมากในเรื่องเนื้อหาที่นำเสนอมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์จริงในสาขาอาชีพ รูปแบบและวิธีการใช้สื่อลักษณะนี้ช่วยให้เรียนได้สะดวก รวดเร็วกว่าการเรียนปกติ สื่อมีความน่าสนใจ สรุปได้ว่าสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องสื่อแนะนำการใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษ ทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับการใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษ
Abstract
The objectives of this study were 1) to develop multimedia for twenty five special technique products 2) to evaluate the effectiveness of the media in terms of learning achievement 3) to investigate learners’ attitudes and their satisfaction towards the developed media. The multimedia for special technique products was created using the Macromedia Flash program. Samples in this study which derived from the simple random sampling melthod consisted of one hundred twenty five, fourth-year pharmacy students, in the second semester of 2009 academic year . Then they were divided into two groups. Sixty students of the first group were assigned to study the first part of the multimedia which contains 11 special technique products including eye drops, vaginal suppositories, syringe for feeding syrup, eye ointment,
contraceptive transdermal patch, oral contraceptive pill, nasal drops, turbuhaler, insulin injections, nasal spray, and accuhaler. They were asked to answer 33 questions in the first test. The second group of 65 samples was assigned to study the second part of the multimedia which contains 14 special technique products including metered dose inhaler, insulin penfill, nicotine transdermal patch, rectal suppositories, ear drops, sublingual tablets, dry syrup, Sodium thiosulfate, mineral powder, Cholestyramine, nicotine chewing gum, calcitonin-salmon nasal spray (Miacalcic®), 0.9% normal saline for nasal irrigation, and rectal enema. Then, they answered 38 questions in the second test.
The results showed that students’ achievement scores of all twenty-five products increased after interacting with the media with statistical significance. (p-value=0.002, 0.007). The mean score increased from 57.64 % to 85.52 % in the first test, and from 63.07 % to 82.39 % in the second test. In terms of attitudes and satisfaction, it was found that the samples were satisfied with the media at a very good level, especially with the following items: “the content of the media is appropriate and useful to their work”, “the media is practical and its attracactive presentation facilitates their learning” and “the media is interesting”. In conclusion, the multimedia for 25 special technigue products helped drveloping the learners’ knowlege and skills in using special technique products.
How to cite!
กุสาวดี เมลืองนนท์, วิรัตน์ เมลืองนนท์, ชัยวัฒน์ ลิ้มประเสริฐ, ประทินทิพย์ ปรุงชัยภูมิ, & ปาลีรัตน์ แซ่ลี้. (2557). การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์เรื่องสื่อแนะนำการใช้ยาที่มีเทคนิคพิเศษ. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(1), 81-94
Indexed in