ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ 2) ศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ 3) เปรียบเทียบปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์จำแนกตามหลักสูตร และ 4) พัฒนาแนวทางแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามออนไลน์ และเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ที่เรียนออนไลน์ของมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย
จำนวน 361 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศหญิง หลักสูตรที่เรียนส่วนใหญ่คือหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญอีเลิร์นนิง สาขาที่เลือกเรียนมากที่สุดคือสาขาผู้ออกแบบคอร์สแวร์อีเลิร์นนิง มีพฤติกรรมการเข้าเรียนออนไลน์ส่วนใหญ่ 3 - 4 วัน/สัปดาห์ เข้าเรียนออนไลน์ช่วงหลังเวลา 21.00 น. ใช้เวลาในการเรียนออนไลน์ 1 - 2 ชั่วโมง ผู้เรียนประสบปัญหาในการเรียนออนไลน์คือ เวลาเรียนมีน้อยเกินไป
2. ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านเทคโนโลยี (x =3.89) ด้านบทเรียน (x =3.88) ด้านผู้สอน (x =3.85) และด้านผู้เรียน (x =3.75)
3. การพัฒนาแนวทางแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทยยึดหลักการเรียนรู้ต่างเวลาและการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเคลื่อนที่ การให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนในช่วงเวลาใดก็ได้โดยยึดหลักการให้ผู้เรียนสามารถควบคุมการเรียนได้ด้วยตนเอง และมีการจัดการเนื้อหาที่มีความยืดหยุ่นเพื่อให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันให้มากที่สุด
Abstract
The purposes of this survey research were 1) to study online learning behavior 2) to study critical success factors (CSF) for online learning 3) to compare critical success factors between two online curricums and 4) to develop guidelines of critical success factors for students of Thai Cyber University Project. The online questionnaire was used as a research tool for data collecting from the sample group of 361 students. Then data were analyzed by descriptive statistics (frequency, percentage, means and standard deviation) and were compared by using T-test.
The findings showed that :
1) Most of the respondents were female in e-Learning Expert Curriculum, and especially in Courseware e-Learning Design Program. They attended online class after 9.00 p.m., about 1-2 hours per day and 3-4 days a week. As we looked at problems encountered by the students it was observed that they did not have enough time to consecrate to their learning.
2) The overall success criteria of Thai Cyber University Project was ranked at a high level. When considering each iten of the questionnaire, the students were satisfied with their online learning at a high level in every factor : technological factors (mean = 3.89), lessons taking factors (mean = 3.88), instructor factors (mean = 3.85) and students factors (mean=3.75).
3) The development of CSF’s guidelines for students of Thai Cyber University Project was based on asynchronous learning and learning via mobile technology. In terms of asynchronous Learning, students should be free to choose their periods of attendance, based on self-learning control. Regarding learning management, it was suggested that content
How to cite!
พชร ลิ่มรัตนมงคล, & จิรัชฌา วิเชียรปัญญา. (2557). ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการเรียนออนไลน์ของผู้เรียนโครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(1), 69-80
Indexed in