วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

สุขภาวะทางจิตวิญญาณนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต : กรณีศึกษาคณะกายภาพบำบัด


บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะทางจิตวิญญาณกับผลการเรียน และความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะทางจิตวิญญาณกับปัจจัยทางด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ของนักศึกษาคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2555 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2555 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่สร้างขึ้นซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป สุขภาวะทางจิตวิญญาณ และปัจจัยด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม ที่มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางจิตวิญญาณ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และนำมาปรับปรุงให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์ ทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยการหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 157 คน เป็นชาย 25 คน หญิง 132 คน มีอายุระหว่าง 18-20 ปี มีสุขภาวะทางจิตวิญญาณโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (เฉลี่ย 99.39 จาก 120 คะแนน) มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่า สุขภาวะทางจิตวิญญาณในด้านความศรัทธายึดมั่นทางศาสนาอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (เฉลี่ย 49.96 จาก 60 คะแนน) ไม่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียน แต่สุขภาวะทางจิตวิญญาณในด้านสิ่งที่เป็นอยู่ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง (เฉลี่ย 49.43 จาก 60 คะแนน) มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สุขภาวะทางจิตวิญญาณโดยรวมมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านกาย จิตใจ และสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) สรุปแล้วการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสุขภาวะทางจิตวิญญาณมีความสัมพันธ์กับผลการเรียน และปัจจัยด้านกาย จิตใจ และสังคม มีอิทธิพลต่อสุขภาวะทางจิตวิญญาณ

Abstract

The present study aimed to investigate the relationship between spiritual health and academic performance and the relationship between spiritual health and physical, psychological and social factors of the first to fourth year physical therapy students at Rangsit University in 2012 academic year. A questionnaire which consisted of 3 parts of general information, spiritual well-being and physical, psychological, and social factors that influenced spiritual well-being was constructed. The content validity of the questionnaire was audited by three experts and then it was adjusted to cover the purposes of the study. The reliability of the questionnaire was tested with Cronbach’s alpha coefficient. Data were collected and analyzed with descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient. The results showed that, among 157 students of the sample gnoup, 25 were male and 132 were female, aged 18-20 years. The score of the overall spiritual well-being was at the moderate level (average of 99.39 out of 120 points) and was significantly correlated with their academic performance (p<0.05). Considering in details, it was found that the score of “the faith and adherence in religions” was at a rather high level (average 49.96 out of 60 points) and did not correlate with their learning outcomes. The score of the existential well-being was at a moderate level (average of 49.43 out of 60 points) and was significantly correlated with their academic performance (p<0.05). The overall spiritual well-being significantly correlated with the physical, psychological, and social factors (p<.05), In conclusion, this study suggested that spiritual health was correlated with academic performance, and the physical, mental and social factors influenced the spiritual well-being of the academic students.

Download in PDF (368.49 KB)

How to cite!

พรพิมล จันทรวิโรจน์, ราตรี ภัทรจิตรา, อลิษา ปันดีกา, นภัสร์นันท์ ปามุทา, & วรชาติ เฉิดชมจันทร์. (2557). สุขภาวะทางจิตวิญญาณนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต : กรณีศึกษาคณะกายภาพบำบัด. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 8(1), 37-50

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in