วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต

Journal of Rangsit University: Teaching & Learning

ISSN 2822-1400 (Print)

ISSN 2822-146X (Online)

การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับห้องปฏิบัติการ เรื่อง ระบบขับถ่าย

A Development of Laboratory Courseware on the Excretory System


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับห้องปฏิบัติการ เรื่อง ระบบ ขับถ่ายที่ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวิจัยในชั้นเรียน ในรูปของบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และใช้ประกอบการ เรียนด้วยตนเองของนักศึกษาในรายวิชาปฏิบัติการชีววิทยาทั่ว ไป 2 (BIO 134) กลุ่ม ตัว อย่างที่ใช้ในการ ศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชาชีววิทยา ทั่วไป 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 48 คน ไดม้าโดยวิธสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัยเป็นแบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนผ่านบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์และ แบบประเมิน ความพึง พอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ในด้านเนื้อหาการนำเสนอ และการประเมิน ผลการเรียน มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (SD) และ วิเคราะห์ความแตกต่างด้วย t-test dependent โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า  1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับห้องปฏิบัติการเรื่องระบบขับถ่าย มีค่าประสิทธิภาพของบท เรียน เท่ากับ 95 และมีค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียน เท่ากับ 0.944  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับห้องปฏิบัติการ เรื่องระบบขับ ถ่าย พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน ซึ่งมีความแตก ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ<0.01 (p < 0.01)  3) ผลจากการประเมินความพึงพอใจของผู้ตอบแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน อิเล็กทรอนิกส์สำหรับห้องปฏิบัติการ เรื่อง ระบบขับถ่าย ในด้านเนื้อหา การนำเสนอ และการ ประเมินผลการเรียน พบว่านักศึกษาร้อยละ 64.78 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่า ระดับคะแนนเฉลี่ยทุกด้านเท่ากับ 4.6 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.51  4) ค่าเฉลี่ยีของระดับความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับห้องปฏิบัติการเรื่องระบบ ขับถ่ายทั้ง 3 ด้าน พบว่าหัวข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดุในแต่ละด้านได้แก่ การเรียงลำดับเนื้อหาแต่ล่ะบท เรียนมีความสอดคล้องและต่อเนื่องมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.75 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.454 ภาพเคลื่อนไหวในวีดีทัศน์ที่ใช้ประกอบบทเรียนมีความเหมาะสมและชัดเจนมีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.49 และ แบบทดสอบทำให้นักศึกษามีความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียน มี คะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดที่กับ 4.69 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.479 

Abstract

The purpose of this study was to develop a laboratory courseware on an excre- tory system, which was used for students as a self-learning media in the “Principle of Biology Laboratory II” (BIO 134) course. The sample group of this study, obtained by purposive sampling technique, were 48 Pharmacy students at Rangsit University who reg- istered in this course in the second semester of the academic year 2010. The instruments used in this study were achievement tests, comprising pretest, during the courseware test, summative test and the questionnaires to survey the students’ satisfaction towards the courseware’s content, presentation and evaluation. The data were statistically analyzed by using mean, standard deviation, and the t-test dependent running by SPSS statistical packages. The results of this study were as follows : 1)  The efficiency of Laboratory Courseware on the Excretory System was 95 and the effectiveness was 0.944. 2)  The post-test achievement scores after using Laboratory Courseware on the Excretory System were significantly higher than the pre-test scores at p-value < 0.01 3)  The mean and standard deviation of students’ satisfaction towards the courseware on Excretory System in term of presentation and evaluation were 4.6 and 0.51 respectively. It implied that 64.78% of students were very satisfied with the courseware.   4) The highest mean scores in the rank of the students’ satisfactory towards the Laboratory Courseware on the Excretory System were continuity and coherence of the content (x=4.75, SD=0.454), the VDO presentation suitability (x=4.65, SD=0.49) and the comprehension tests (x=4.69, SD=0.479). 

Download in PDF (414.48 KB)

How to cite!

วัฒนา แซ่โหลว (2556). การพัฒนาบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับห้องปฏิบัติการ เรื่อง ระบบขับถ่าย. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 7(2), 71-81

Approved By TCI (2020 - 2024)

Indexed in